กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4511
ชื่อเรื่อง: สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาความมีวินัยของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดลำปาง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: State of disciplinary problems and the disciplinary development guidelines of government teacher under the Office of the Vocational Education Commission in Lampang Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รัตนา ดวงแก้ว, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภาสกร เชื้อเมืองพาน, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ข้าราชการครู--วินัย
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัญหาความมีวินัยของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดลำปาง และ (2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาความมีวินัยของข้าราชการครูสำหรับผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ข้าราชการครูในวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดลำปาง ปีการศึกษา 2558 จำนวน 210 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาความมีวินัยของข้าราชการครู มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.98 และแบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาความมีวินัยของข้าราชการครู การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยปรากฏว่า (1) สภาพปัญหาความมีวินัยของข้าราชการครูโดยภาพรวมอยูในระดับปานกลางเมื่อแยกเป็นรายปัจจัย พบว่าทั้งปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยการปฏิบัติงาน เป็นสาเหตุของปัญหาการกระทำผิดวินัยข้าราชการครูอยู่ในระดับปานกลาง และ (2) แนวทางการพัฒนาความมีวินัยของข้าราชการครูสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ (2.1) ด้านการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ผู้บริหารสถานศึกษาควรเป็นผู้สุภาพเรียบร้อย มีความรับผิดชอบ มีความขยันหมั่นเพียร ชื่อสัตย์ เสียสละผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม มีภาวะผู้นำที่ดี และมีความยุติธรรม (2.2) ด้านการฝึกอบรมทางวินัย ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาครูด้านระเบียบวินัยอย่างหลากหลายวิธี จัดทำและเผยแพร่เอกสารคู่มือเกี่ยวกับวินัยข้าราชการครูและคู่มือการปฏิบัติงานให้ครูได้เข้าถึง (2.3) ด้านการสร้างขวัญและกำลังใจผู้บริหารสถานศึกษาควรสร้างสัมพันธภาพที่ดี จัดสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี จัดสวัสดิการสำหรับข้าราชการครูอย่างเหมาะสม และประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างยุติธรรม และ (2.4) ด้านการสร้างจิตสำนึกในทางที่มีวินัยผู้บริหารสถานศึกษาควรสร้างความตระหนักในเรื่องวินัยข้าราชการครูกล่าวชื่นชมและตักเตือนอย่างกัลยาณมิตร บริหารงานโดยใช้ระบบคุณธรรม และสร้างเครือข่ายความร่วมมือ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4511
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_155603.pdf4.6 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons