Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/452
Title: | ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลักการใช้ภาษาไทย และคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 |
Other Titles: | Effects of flipped classroom activities management on learning achievement in principles of thai language usage and avidity for learning of Mattayayom Suksa I Students in Schools under Secondary Education Service Area Office 18 |
Authors: | พัชรินทร์ สิทธิภูมิ อภิรักษ์ อนะมาน สุวรรณี ยหะกร |
Keywords: | ห้องเรียนกลับด้าน ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Citation: | วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 14, ฉบับที่ 1 (ม.ค. - มิ.ย. 2564), หน้า 153-167 |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลักการใช้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้ห้องเรียนกลับด้านก่อนและหลังการทดลอง และ (2) ศึกษาคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้ห้องเรียนกลับด้านระหว่างการทดลองและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนิคมวิทยา จังหวัดระยอง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้หลักการใช้ภาษาไทย (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลักการใช้ภาษาไทย และ (3) แบบประเมินคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลักการใช้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้ห้องเรียนกลับด้านหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) คุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้ห้องเรียนกลับด้านอยู่ในระดับคุณภาพดี |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/452 |
ISSN: | 1905-4653 |
Appears in Collections: | STOU Education Journal |
This item is licensed under a Creative Commons License