กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4525
ชื่อเรื่อง: | ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะพี่เลี้ยงในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Needs for competency development of kindergarten teacher aides in School under Lat Krabang District Office, Bangkok Metropolitan Administration |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กุลชลี จงเจริญ เพ็ญพรรณ ณ นคร, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี ครูพี่เลี้ยง--ไทย--กรุงเทพฯ การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพสมรรถนะที่เป็นจริงและสภาพสมรรถนะที่คาดหวังในการพัฒนาสมรรถนะพี่เลี้ยงในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร (2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะพี่เลี้ยงในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และ (3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะพี้เลี้ยงในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ประชากร คือ พี่เลี้ยงในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2560 จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับที่มีการตอบสนองคู่ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .96 และ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย ปรากฎว่า (1) สภาพสมรรถนะที่เป็นจริงของพี่เลี้ยงในโรงเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าด้านอื่น คือ ด้านความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง และชุมชน และสภาพสมรรถนะที่คาดหวังของพี่เลี้ยงในโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า ด้านอื่น คือ ด้านความเป็นมืออาชีพและการมีภาวะผู้นำ (2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะพี่เลี้ยงในโรงเรียน พบว่า พี่เลี้ยงมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านความรู้ความเข้าใจหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สุขภาพและโภชนาการ มากที่สุด รองลงมาเป็นด้านการประเมินพัฒนาการด้านการจัดประสบการณ์/กิจกรรมการเรียนรู้ ด้านความเป็นมืออาชีพและการมีภาวะผู้นำ และด้านความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน ตามลำดับ และ (3) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะพี่เลี้ยงในโรงเรียน พบว่า พี่เลี้ยงมีความต้องการมากพี่สุดในด้านวิธีการพัฒนาสมรรถนะโดยการศึกษาดูงาน และการพัฒนาตนเอง และมีความต้องการมากที่สุดในการพัฒนาสมรรถนะด้านเนื้อหาสาระเกี่ยวกับจิตวิทยาเด็กปฐมวัย การผลิตสื่อการสอนปฐมวัย และการวัดและประเมินผลพฤติกรรมเด็ก |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4525 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_156369.pdf | 2.81 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License