Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/454
Title: การศึกษาประสิทธิภาพของเตาเผาชนิดควบคุมอากาศขนาดเล็ก ในการกำจัดขยะอุตสาหกรรม จากส่วนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ กบินทร์บุรี
Authors: จักรกฤษณ์ ศิวะเดชาเทพ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปีติ พูนไชยศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
อนันต์ สุ่นปาน, 2493-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
เตาเผาขยะ--ไทย
การกำจัดขยะ--ไทย--ปราจีนบุรี
Issue Date: 2545
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสำรวจ ชนิด ปริมาณ ลักษณะ และระบบการจัดการขยะอุตสาหกรรมที่ดำเนินการอยู่ของสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ กบินทร์บุรี (2) เลือกประเภทขยะอุตสาหกรรมของสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์กบินทร์บุรี ที่เหมาะสมสำหรับการกำจัดโดยเตาเผา และ (3) ทดสอบประสิทธิภาพของเตาเผาชนิดควบคุมอากาศขนาดเล็ก โดยการเผาขยะอุตสาหกรรมจากสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์กบินทร์บุรีในการศึกษาได้ขยะจากโรงงานในสวนอุตสาหกรรรมเครือสหพัฒน์กบินทร์บุรี จำนวน 28 โรงงาน โดยใช้แบบสำรวจเป็นเครื่องมือเพื่อสำรวจ ชนิด ปริมาณ ลักษณะ และระบบการจัดการขยะอุตสาหกรรมและทำการสุ่มตัวอย่างขยะอุตสาหกรรมประเภทที่เผาไหม้ได้จากขยะทั่วไป โดยวิธีแบ่งสี่ส่วน สำหรับการกำจัดโดยเตาเผา หลังจากนั้นทำการทดสอบประสิทธิภาพของเตาเผาชนิดควบคุมอากาศขนาด 100 กิโลกรัมต่อชั่วโมง โดยการควบคุมอุณหภูมิต้องเผาไหม้ที่หนึ่ง ให้คงที่ที่ 400- 500 องศาเซลเซียส และ 700-800 องศาเซลเซียส และ ควบคุมอุณหภูมิต้องเผาไหม้ที่สอง ให้คงที่ไว้ที่ช่วง 700-1,200 องศาเซลเซียส ในการวิเคราะหข้อมูล ใช้สถิติ ค่า ร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเที่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียรสัน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า (1) มีขยะอุตสาหกรรมจากสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์กบินทร์บุรี ประมาณวันละ 26.84 ตัน แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ขยะรีไซเคิล ร้อยละ 16.26 ขยะอินทรีย์ร้อยละ 2.65 ขยะทั่วไป ร้อยละ 31.92 ซึ่งจัดเก็บโดยเทศบาลท้องถิ่นและขยะอันตรายร้อยละ 49.17 จัดเก็บโดย บริษัทบริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) (2) ขยะที่เหมาะสมสำหรับการกำจัดโดยเตาเผา คือ ขยะทั่วไปซึ่งเป็นประเภทที่เผาไหม้ใด้รัอยละ 51.18 (3) จากการเผาพบว่ามีปริมาณก๊าซไฮโดรเจนคลอไรค์ โลหะหนัก ปริมาณขี้เถ้า อัตราการเผาไหม้ อัตราการใช้นั้ามันเชื้อเพลงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและค่าที่ออกแบบของเตาเผายกเว้นปริมาณฝุ่นละอองมีค่าเกินมาตรฐาน และจากการทดสอบทางสถิติพบว่า อุณหภูมิต้องเผาไหม้ที่หนึ่งไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งสองการทดลอง อุณหภูมิต้องเผาไหม้ที่หนึ่งมีผลต่อปริมาณก๊าซมลพิษ และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของต้องเผาไหม้ที่สอง อุณหภูมิต้องเผาไหม้ที่สองมีผลต่อปริมาณก๊าซมลพิษเช่นเดียวกับอุณหภูมิของต้องเผาไหม้ที่หนึ่ง อุณหภูมิต้องเผาไหม้ที่สองในการทดสอบครั้งเดียวกันมีผลทำให้ค่าปริมาณก๊าซมลพิษในทุกช่วงอุณหภูมิแตกต่างกัน
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/454
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
78267.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.57 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons