กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4577
ชื่อเรื่อง: | การควบคุมการกระทำทางปกครองของสภาวิศวกรโดยศาลปกครอง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Control of administrative actions of the Council of Engineers by the Administrative Court |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธวัชชัย สุวรรณพานิช สุนันทา ศรีเพ็ง, 2517- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี สภาวิศกร ศาลปกครอง การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง การควบคุมการกระทำทางปกครองของสภาวิศวกรโดยศาลปกครองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวคิดทางกฎหมายปกครองและลักษณะการใช้อำนาจทางปกครองของสภาวิศวกร รวมทั้งขอบเขตของศาลปกครองในการตรวจสอบการกระทำทางปกครองหรือการใช้อำนาจทางปกครองของสภาวิศวกร การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสารเป็นหลัก โดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ทั้งหนังสือ ตำรา งานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความทางวิชาการต่าง ๆ รวมถึงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ และบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำสั่งและคำพิพากษาของศาลปกครองที่น่าสนใจ อันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้ ผลการศึกษาพบว่า สภาวิศวกรเป็นองค์กรควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมและเป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากรัฐให้ใช้อำนาจทางปกครอง จึงมีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครองตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 โดยลักษณะการใช้อำนาจในทางปกครอง หรือการกระทำทางปกครองของสภาวิศวกรนั้น มีทั้งที่เป็นนิติกรรมทางปกครองฝ่ายเดียวและนิติกรรมทางตุลาการ ซึ่งศาลปกครองมีอำนาจเข้าไปตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครองดังกล่าวได้ อย่างไรก็ดี การตรวจสอบคำวินิจฉัยชี้ขาดในคดีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของประเทศฝรั่งเศส ถือได้ว่าเป็นการตรวจสอบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทซึ่งมีฐานะเป็นนิติกรรมทางตุลาการ และการฟ้องคดีสามารถยื่นฟ้องได้โดยตรงต่อศาลปกครองสูงสุด (สภาแห่งรัฐ) ประกอบกับกระบวนพิจารณาในคดีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมของสภาวิศวกรได้มีการพิจารณาถึง 2 ชั้น ที่ถือว่าให้หลักประกันความเป็นธรรมแก่คู่กรณีแล้ว ผู้ศึกษาจึงเสนอให้มีการออกประกาศกำหนดให้คำวินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ของคณะกรรมการสภาวิศวกรมีฐานะเป็นคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทเพื่อให้คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด นอกจากนี้ เพื่อให้การใช้อำนาจพิจารณาคดีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมของคณะกรรมการจรรยาบรรณมีความรอบคอบมากยิ่งขึ้น จึงได้เสนอให้มีการสร้างกลไกการตรวจสอบหรือถ่วงดุลการใช้อำนาจดังกล่าว และเมื่อการใช้อำนาจของสภาวิศวกรมีผลกระทบต่อสิทธิและหน้าที่ต่อบุคคล ดังปรากฏตามแนวคำวินิจฉัยของศาลปกครอง สภาวิศวกรจึงต้องใช้อำนาจให้ถูกต้องตามกฎหมายโดยไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้ตามอำเภอใจ ผู้ศึกษาจึงเสนอให้มีการจัดทำคู่มือการพิจารณาทางปกครองเพื่อเป็นแนวทางในการใช้อำนาจให้เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4577 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.72 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License