กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/458
ชื่อเรื่อง: | การรับรู้สารสนเทศโรคไข้เลือดออกของประชาชนในอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Perceived information of Selaphum District residents about dengue hemorrhagic fever |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมพร พุทธาพิทักษ์ผล เจริญ นิลสุ, 2506- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา มาลี ล้ำสกุล พัชราพร เกิดมงคล |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ ไข้เลือดออก แหล่งสารสนเทศ |
วันที่เผยแพร่: | 2549 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนื้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการรับรู้สารสนเทศเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกของประชาชน ด้านอาการและความรุนแรงของโรค ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค และการป้องกันโรค (2) ศึกษาแหล่งสารสนเทศเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกของประชาชนในอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย (จนท.สอ.) แบบเจาะลึกรายบุคคล จำนวน 3 คน การสัมภาษณ์กลุ่มแบบโฟกัสในกลุ่มผู้ร่วมวิจัยที่ได้จากการคัดเลือกโดยวิธีเจาะจงจากประชาชนที่อาศัยในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 3 หมู่บ้าน จำแนกเป็นหมู่บ้านเสี่ยงสูง เสี่ยงปานกลาง และเสี่ยงตํ่า หมู่บ้านละ 8-9 คน รวม 26 คน การศึกษาเอกสาร และการสำรวจหมู่บ้านเพื่อจัดทำแผนที่แสดงการกระจายตัวของ แหล่งสารสนเทศจากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และจัดกลุ่มเนื้อหาที่ได้จากการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยที่สำคัญพบว่า ผู้ร่วมวิจัยทุกหมู่บ้านมีการรับรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกว่าเป็นโรคที่มีอาการรุนแรงจนถึงขั้นทำให์เสียชีวิตได้ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากที่สุด คือ การที่เด็กถูกยุงลายกัดตอนนั่งดูโทรทัศน์ภายในบ้านเรือนของตนเอง การป้องกันโรคมีหลายวิธีและมีความสำคัญแตกต่างกัน วิธีที่ผู้ร่วมวิจัยเห็นว่าสำคัญที่สุดคือ การเปลี่ยนน้ำในโอ่งน้ำหรืออ่างอาบน้ำในห้องน้ำ เมื่อพิจารณาแผนที่การกระจายสารสนเทศในหมู่บ้าน พบว่า ผู้ร่วมวิจัยใช้ความสำคัญแหล่งสารสนเทศมากที่สุด 3 แหล่ง คือ จนท.สอ. อสม. และแผ่นผับ ผู้ร่วมวิจัยมีความต้องการแสวงหาสารสนเทศจาก จนท.สอ. มากที่สุด และผู้ร่วมวิจัยทั้งสามหมู่บ้านมีการรับรู้ที่แตกต่างกันในเรื่องของอาการและความรุนแรงของโรค ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค การป้องกันโรคแหล่งสารสนเทศ และการกระจายสารสนเทศในหมู่บ้าน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/458 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Arts-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext (4).pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 7.09 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License