Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4590
Title: | ความพึงพอใจต่อการบริการระบบสารสนเทศบริหารจัดการอาชีวศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาแพร่ |
Other Titles: | Satisfaction with information system services on vocational management of Phrae Vocational College |
Authors: | สฤษดิ์พงษ์ ลิมปิษเฐียร เรวัธ จิตจง, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี ความพอใจของผู้ใช้บริการ การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความพึงพอใจต่อการบริการของระบบสารสนเทศบริหารจัดการอาชีวศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาแพร่ (2) เปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการบริการของระบบสารสนเทศบริหารจัดการอาชีวศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาแพร่ ตามสถานะของกลุ่มผู้ใช้ และ (3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาระบสารสนเทศบริหารจัดการอาชีวศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาแพร่กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ใช้งานระบบสารสนเทศบริหารจัดการอาชีวศึกษา จำนวน 322 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย ขนาดของกลุ่มตัวอย่างกำหนดโดยการใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือรวบรวมข้อมูล คือแบบ สอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบต่อการบริการของระบบสารสนเทศบริหารจัดการอาชีวศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาแพร่ทุกด้านอยู่ในระดับมาก (2) การเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบสารสนเทศ บริหารจัดการอาชีวศึกษา จำแนกสถานะของผู้ใช้ ได้แก่ หัวหน้างาน เจ้าหน้าที่ ครู และนักเรียน นักศึกษาพบว่าผู้ใช้บริการที่มีสถานะแตกต่างกัน มีความพึงพอใจเกี่ยวกับการบริการระบบสารสนเทศบริหารจัดการอาชีวศึกษาไม่แตกต่างกัน และ (3) ข้อเสนอแนะในการพัฒนาบริการของระบบสารสนเทศบริหารจัดการอาชีวศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาแพร่ มีดังนี้ ควรมีคู่มีอการใช้งานของผู้ใช้งานแต่ละสถานะให้ละเอียด ชัดเจน ควรมีการพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ข้อมูลมีความทันสมัยและสามารถนำข้อมูลในระบบมาใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด และควรเพิ่มข้อมูลการวัดผลประเมินผลของครูให้เป็นปัจจุบัน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4590 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
full_text161873.pdf | 6.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License