Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4620
Title: | การขยายระยะเวลาการใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งในศาลปกครอง |
Other Titles: | Extension of the right to appeal the decision or order in court |
Authors: | กมลชัย รัตนสกาววงศ์ สุรโกศล แก้วดี, 2527- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี วิธีพิจารณาคดีปกครอง ศาลปกครอง การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง “การขยายระยะเวลาการใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งในศาลปกครอง” มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องการขยายระยะเวลาการใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งในศาลปกครอง 2. เพื่อศึกษาการขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในศาลยุติธรรม ศาลปกครองของประเทศไทยและวิธีพิจารณาคดีปกครองของศาลปกครองฝรั่งเศส 3. เพื่อทราบปัญหาเกี่ยวกับการขยายระยะเวลาการใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งในศาลปกครอง 4. เพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการขยายระยะเวลาการใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งในศาลปกครอง การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร โดยการวิเคราะห์ ค้นคว้า และรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทั่วไป ได้แก่ หนังสือ บทความทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ คำพิพากษาและคำสั่งของศาลปกครอง และกฎหมายที่เกี่ยวข้องเรื่องระยะเวลา ผลจากการศึกษาพบว่า คู่กรณีจะต้องยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ซึ่งการยื่นอุทธรณ์ก็เพื่อโต้แย้งคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น แต่ด้วยระยะเวลาอุทธรณ์ดังกล่าวกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจศาลปกครองชั้นต้นขยายระยะเวลาได้ ซึ่งผู้ศึกษาเห็นว่า ระยะเวลาดังกล่าว เป็นระยะเวลาในกระบวนพิจารณาคดีของศาล หาใช่ระยะเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดีดังเช่นอายุความแต่อย่างใดไม่ ระยะเวลาดังกล่าวจึงสมควรที่จะขยายระยะเวลาได้เมื่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ไม่ได้ห้ามให้ นำกฎหมายวิธีพิจารณาคดีความแพ่งซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปมาบังคับใช้โดยชัดแจ้ง และศาลปกครองมิได้ขยายระยะเวลาดังกล่าวให้แต่อย่างใด ผู้ศึกษาจึงเห็นว่าในเรื่องนี้ แม้จะไม่สามารถนำกฎหมายวิธีพิจารณาคดีความแพ่งมาใช้ในฐานะที่เป็นกฎหมายทั่วไปแต่ศาลปกครองย่อมสามารถนำหลักการขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในฐานะที่เป็นหลักกฎหมายทั่วไปตามนิติวิธีทางกฎหมายมหาชนมาใช้ได้ทั้งนี้ ก็เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม และเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการตีความกฎหมายจึงเสนอให้เพิ่มเติมในมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญติดังกล่าวว่า “ทั้งนี้ ให้นำความในมาตรา 23 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม” ด้วย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4620 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License