กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/467
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการดำเนินการทางวินัยข้าราชการธุรการของสำนักงานอัยการสูงสุด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal problems relating to disciplinary measures against administrative officials of the office of the Attorney general
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาณินี กิจพ่อค้า
ดุลย์พินิจ กิติศักดิ์, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
กอร์ปกุล วินิจนัยภาค
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชากฎหมายมหาชน--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์
สำนักงานอัยการสูงสุด--ข้าราชการ--วินัย
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องปัญหาการดำเนินการทางวินัยข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิด โครงสร้าง บทบาทและหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้อง ตลอดจนปัญหาในการดำเนินการทางวินัย ข้าราชการสำนักงานอัยการสูงสุด โดยศึกษากรณีข้าราชการธุรการของสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อศึกษาถึง หลักเกณฑ์และกระบวนการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการธุรการ ในสำนักงานอัยการสูงสุด ตลอดจนการ อุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยข้าราชการธุรการของสำนักงานอัยการสูงสุด เปรียบเทียบกับข้าราชการอัยการและเจ้าหน้าที่ของรัฐในต่างประเทศ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมาย โดยการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร โดยมุ่ง ศึกษาทฤษฎี แนวคิดกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการธุรการในสำนักงาน อัยการสูงสุด ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553 และเพื่อให้ทราบถึงหลักเกณฑ์ การอุทธรณ์ การรายงานผลการดำเนินการ ซึ่งเป็นหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของข้าราชการ ธุรการในสำนักงานอัยการสูงสุด มีมากน้อยเพียงใด ตลอดจน กฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการทางวินัย สภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไข โดยวิเคราะห์บทบัญญัติของกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ ่ในปัจจุบัน เปรียบเทียบกับการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการอัยการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐในต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่าปัญหาการดำเนินการทางวินัยข้าราชการธุรการของสำนักงานอัยการสูงสุด คือ ปัญหาการรวบรวมข้อเท็จจริงในการดำเนินการทางวินัย ปัญหาการมีทนายความหรือที่ปรึกษากฎหมาย ปัญหา การกำหนดระยะเวลาการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ปัญหาการลงโทษทางวินัยที่ซ้ำซ้อน ปัญหาการตรวจสอบ การดำเนินการทางวินัย และปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์ การแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะคือ ควรมีการออกระเบียบการดำเนินการสืบสวนสอบสวนร่วมกันระหว่าง ข้าราชการอัยการและ ข้าราชการธุรการของสำนักงานอัยการสูงสุด และควรมีการออกระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยการสอบสวนทางวินัยข้าราชการธุรการของสำนักงานอัยการสูงสุด นอกจากนี้เห็นควรยกเลิก ข้อ 13 แห่งระเบียบ คณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. 2554 และแก้ไขมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553 ตลอดจนจะต้องมีการออกระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยการพิจารณาอุทธรณ์ของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/467
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib138792.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.09 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons