กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4720
ชื่อเรื่อง: ผลการใช้แบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโคกสะอาด จังหวัดนครพนม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of using science process skills learning exercises on science process skills of Prathom Suksa VI students at Ban Khok Sa at school in Nakhon Phanon Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สิรินภา คำชนะ, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
วิทยาศาสตร์ -- กิจกรรมการเรียนการสอน
วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
การศึกษาอิสระ -- หลักสูตรและการสอน
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาแบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพ 80/80 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ(3) หาดัชนีประสิทธิผลของความก้าวหน้าทางพัฒนาการการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบ้านโคกสะอาด จังหวัดนครพนม 1 ห้องเรียน จำนวน 15 คน โดยการศึกษา จากประชากร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้กิจกรรมฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานและขั้นบูรณาการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการหาค่าดัชนีประสิทธิผล ผลการวิจัยพบว่า (1) แบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 มีประสิทธิภาพ สูงตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80.83/82.27 (2) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้แบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน (3) ดัชนีประสิทธิผลของความก้าวหน้าทางพัฒนาการการเรียนรู้ของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เท่ากับ 0.70 แสดงว่าผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางพัฒนาการการเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 70
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4720
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_134739.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.98 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons