กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/481
ชื่อเรื่อง: การกำหนดคุณสมบัติและกระบวนการสรรหากับความเป็นอิสระของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ : ศึกษาเปรียบเทียบกับศาลรัฐธรรมนูญของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐเกาหลี และญี่ปุ่น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The qualifications and selection process and the independence of judges of the constitutional court: a comparative study with the constitutional court of the Federal Republic of Germany, the United States of America, the Republic of Korea and Japan
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รังสิกร อุปพงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุรีรัตน์ ประจนปัจจนึก, อาจารย์ที่ปรึกษา
นำพงษ์ ไกยเดช, 2503-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
ศาลรัฐธรรมนูญ -- เยอรมัน
ศาลรัฐธรรมนูญ -- ญี่ปุ่น
ตุลาการ
ศาลรัฐธรรมนูญ -- เกาหลี
ศาลรัฐธรรมนูญ -- สหรัฐอเมริกา
การสรรหาบุคลากร
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อทราบถึงแนวคิดและทฤษฎีในการกําหนดคุณสมบัติ กระบวนการสรรหา และความเป็นอิสระของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (2) ทราบถึงคุณสมบัติ กระบวนการ สรรหา และความเป็นอิสระของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไทยโดยวิเคราะห์เปรียบเทียบกับศาลรัฐธรรมนูญ ของต่างประเทศ (3) เพื่อทราบถึงปัญหา อุปสรรค และได้แนวทางแก้ไขปัญหาการกําหนดคุณสมบัติ กระบวนการสรรหา และความเป็นอิสระของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเอกสารที่เป็นบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในส่วนของศาลรัฐธรรมนูญของไทยเปรียบเทียบกับศาลรัฐธรรมนูญของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐเกาหลี และญี่ปุ่น ผลการวิจัยพบว่า (1) การกําหนดคุณสมบัติของผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 205(3) ไม่เป็น รูปธรรม จึงส่งผลโดยตรงต่อกระบวนการสรรหาขององค์กรที่ทําหน้าที่สรรหาและคัดเลือกบุคคลไปเป็น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในคดีสําคัญๆ ที่ผ่านมา คําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่ค่อยเป็นไปตาม เจตนารมณ์ที่แท้จริงของรัฐธรรมนูญเท่าที่ควร ดังนั้น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญควรต้องมีความรู้ความ เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ เช่น เคยมีประสบการณ์ที่สอดคล้องกับอํานาจหน้าที่ของศาล รัฐธรรมนูญ มีผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง อาทิ บทความเกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นต้น และควร มีหลักเกณฑ์การตรวจสอบผลงานที่ชัดเจน (2) วุฒิสภาไม่มีอํานาจที่จะไม่ให้ความเห็นชอบแก่บุคคล ผู้ได้รับเลือกจากศาลฎีกา ศาลปกครองสูงสุด และคณะกรรมการสรรหาซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักการค้าน และดุลอํานาจ จึงควรกําหนดให้วุฒิสภามีอํานาจที่จะไม่ให้ความเห็นชอบแก่บุคคลที่ห็นว่าไม่เหมาะสม ได้อย่างเช่นวุฒิสภาของต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา เป็นต้น (3) องค์กรที่ทําหน้าที่สรรหาไม่มีแนว ปฏิบัติเดียวกันในการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอาจถูกแทรกแซงได้ง่าย จึงควรกําหนดให้มีกฎหมาย เฉพาะอย่างเช่นกฎหมายของเยอรมนี เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ทั้งนี้ เพื่อความเป็นอิสระของตุลาการศาล รัฐธรรมนูญ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/481
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib129225.pdfเอกสารฉบับเต็ม26.86 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons