กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4836
ชื่อเรื่อง: ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะเพื่อการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของครู โรงเรียนอำนวยพิทยา กรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The needs for development of learning management skill for students in the 21st century of teachers at Amnuay Pittaya School in Bangkok Metropolis
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กุลชลี จงเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ไตรรัตน์ สุวรรณปาล, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์.
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
ครู--การประเมินศักยภาพ
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังในการพัฒนาทักษะเพื่อการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของครู โรงเรียนอำนวยพิทยา กรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะเพื่อการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของครู และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะเพื่อการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของครู ประชากร ได้แก่ ครูผู้สอนของโรงเรียนอำนวยพิทยา จำนวน 43 คน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบตอบสนองคู่เกี่ยวกับสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังในการพัฒนาทักษะเพื่อการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของครู มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 และ .98 และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาทักษะเพื่อการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) สภาพที่เป็นจริงในการพัฒนาทักษะเพื่อการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของครู อยู่ในระดับมาก และสภาพที่คาดหวังในการพัฒนาทักษะเพื่อการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของครู อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะเพื่อการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เรียงลำดับความต้องการจำเป็น ได้แก่ ด้านการกำหนดวัตถุประสงค์ ด้านการประเมินผล และด้านการวิเคราะห์ข้อมูลย้อนกลับ ตามลำดับ และ 3) แนวทางการพัฒนาทักษะเพื่อการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของครู พบว่า (1) ด้านการกำหนดวัตถุประสงค์การจัดการเรียนรู้ สถานศึกษาควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูได้รับการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะการคิดขั้นสูง (2) ด้านการศึกษาคุณลักษณะนักเรียน สถานศึกษาควรสนับสนุนให้ครูทำการประเมินสถานะของผู้เรียนก่อนสอน (3) ด้านการกำหนดจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ สถานศึกษาควรพัฒนาทักษะของครูโดยการฝึกอบรมที่เน้นการประชุมเชิงปฏิบัติการ (4) ด้านการกำหนดเนื้อหา สถานศึกษาควรมีการพัฒนาทักษะของครูโดยการเชิญผู้รู้มาให้ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดเนื้อหาสาระในการจัดการเรียนรู้ (5) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สถานศึกษาควรพัฒนาทักษะของครูให้สามารถออกแบบการจัดการเรียนการสอนผ่านทรัพยากรและช่องทางการเรียนรู้ที่หลากหลาย (6) ด้านการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ สถานศึกษาควรจัดอบรมชิงปฏิบัติการให้ครูมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ในแนวใหม่ และ (7) ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลย้อนกลับ สถานศึกษาควรจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ครูมีทักษะในการสะท้อนข้อมูลเพื่อการนำไปใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4836
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม24.43 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons