กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/483
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารสาธารณสุขเกี่ยวกับรูปแบบการกระจายอำนาจด้านสุขภาพสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | โกวิน วิวัฒนพงศ์พันธ์ มาโนช อิ่มสมบัติ, 2499- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สมศักดิ์ บุตราช |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ การปกครองท้องถิ่น--ไทย--ประจวบคีรีขันธ์ การกระจายอำนาจปกครอง--ไทย ผู้บริหารสาธารณสุข |
วันที่เผยแพร่: | 2545 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นของกับผู้บริหารสาธารฌสุขในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เกี่ยวกับรูปแบบและปัญหาการกระจายอำนาจด้านสุขภาพสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ (2) จำแนกความแตกต่างในความคิดเห็นของผู้บริหารสาธารณสุขที่มีลักษณะประชากรแตกต่างกัน ประชากรที่ทำการศึกษาประกอบด้วย ผู้บริหารสาธารณสุขทุกระดับในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลชุมชน สถานีอนามัย และหน่วยงานเทศบาล จำนวน 232 คน ทำการทอดแบบสอบถามเพื่อรวบรวมความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบและปัญหาการกระจายอำนาจด้านสุขภาพสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 รูปแบบ รูปแบบที่ 1 สถานพยาบาลทุกระดับชั้นกับกระทรวงสาธารณสุข คณะกรรมการสุขภาพระดับจังหวัด (กสจ.) ทำหน้าที่เป็นผู้ซื้อบริการ รูปแบบที่ 2 สถานพยาบาลแต่ละระดับขั้นกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละระดับ กสจ.ทำหน้าที่ในฐานะประสาน รูปแบบที่ 3 สถานพยาบาลทุกระดับขั้นกับ กสจ. กสจ. ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารสถานพยาบาลโดยตรง รูปแบบที่ 4 สถานพยาบาลทุกระดับอยู่เป็นเครือข่ายในรูปแบบองค์การมหาชน กสจ.ทำหน้าที่เป็นผู้ซื้อบริการ ทำการวิเคราะห์ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของผู้บริหารและทดสอบสมมติฐานของค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของผู้บริหารที่มีลักษณะทาง ประชากรแตกต่างกัน ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบด้วยวิธเชฟเฟ่ ที่ระดับความเชื่อมั่น ทางสถิติ .05 ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้บริหารโดยรวมส่วนใหญ่เห็นว่า รูปแบบที่ 3 ความเหมาะสมมากที่สุดในแง่ของ ประสิทธิภาพของระบบความเสมอภาค ความยั่งยืนและการยอมรับ สัดส่วนร้อยละสูงสุดของความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาของรูปแบบที่ 1 คือ การรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลางทำให้เกิดระบบอุปถัมภ์และประชาชนมีส่วนร่วมน้อย เกี่ยวกับปัญหาของรูปแบบที่ 2 คือ หากท้องถิ่นขาดความเข้าใจ/ความไม่พร้อมในการใช้อำนาจที่ได้รับอาจทำไห้เกิดปัญหาการแทรกแซงทางการเมือง เกี่ยวกับปัญหาของรูปแบบที่ 3 คือ ความซับซ้อนของโครงสร้างทำให้เกิดความล่าช้าในการบริหารงาน/การประสานงาน และเกี่ยวกับปัญหาของรูปแบบที่ 4 คือ ความไม่มั่นใจในรูปแบบเพราะขาดความชัดเจนและยังไม่เคยทดลองปฏิบัติ และ (2) มีนัยสำคัญทางสถิติของความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความคิดเห็นในผู้บริหารที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างผู้บริหารที่มีการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่าขึ้นไปและผู้บริหารที่มีการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/483 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License