กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4896
ชื่อเรื่อง: การผลิตถั่วเหลืองและความต้องการการส่งเสริมการเกษตรของเกษตรกรในอำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Soybean production and extension needs of farmers in Sawankhalok District of Sukhothai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภิรมย์ โสฬส, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
เกษตรกร--ไทย--สุโขทัย
ถั่วเหลือง--การปลูก
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลือง (2) สภาพการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกร (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกร และ (4) ความต้องการการส่งเสริมในการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกร ผลการศึกษา พบว่า (1) เกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองส่วนมากเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 51.52 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5.17 คน ประสบการณ์ในการผลิตถั่วเหลืองเฉลี่ย 7.51 ปี ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้า ธ.ก.ส. ได้รับข้อมูลข่าวสารจากญาติพี่น้องมากที่สุด ส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับการฝึกอบรมการผลิตถั่วเหลือง แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.99 คน พื้นที่ถือครองเฉลี่ย 34.88 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ของตนเอง มีพื้นที่ปลูกถั่วเหลืองเฉลี่ย 11.21 ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 2 โดยซื้อเมล็ดพันธุ์จากร้านค้า/บริษัท และนำไปขายเองที่ลานรับซื้อผลผลิตในตลาด มีต้นทุนการผลิตต่อไร่เฉลี่ย 2,852.40 บาท ได้ผลผลิตเฉลี่ย 201.90 กิโลกรัมต่อไร่ มีรายได้จากการผลิตถั่วเหลืองต่อไร่เฉลี่ย 3,347.70 บาท แหล่งเงินทุนส่วนมากได้มาจากการกู้ยืมจาก ธ.ก.ส. (2) การผลิตถั่วเหลือง พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ปฏิบัติในประเด็นต่างๆ ได้แก่ ไถดะพลิกหน้าดิน ไถพรวนดิน ปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ ใช้เมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ปราศจากโรคและแมลง ปลูกโดยวิธีหว่านเมล็ด กำจัดวัชพืชก่อนใส่ปุ๋ย ใช้สารเคมีพ่นป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช เก็บเกี่ยวตามช่วงอายุพันธุ์ และบรรจุเมล็ดในกระสอบที่สะอาด (3) เกษตรกรมีปัญหาอยู่ในระดับมาก ประเด็นที่มีปัญหามากที่สุด คือ ขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ดีและราคาแพง (4) เกษตรกรมีความต้องการความรู้ในเรื่องการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช และการดูแลรักษาในระดับมากที่สุด ด้านช่องทางการส่งเสริม พบว่า เกษตรกรมีความต้องการช่องทางการส่งเสริมในระดับมากผ่านทางแผ่นพับ บุคคลราชการ และคู่มือ ด้านวิธีการส่งเสริม พบว่า เกษตรกรมีความต้องการวิธีการส่งเสริมในระดับมาก คือ การสาธิต และการบรรยาย ด้านการให้บริการและการสนับสนุน พบว่า เกษตรกรมีความต้องการในระดับมากที่สุด คือ การสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ดี การจัดหาแหล่งปัจจัยการผลิตคุณภาพดีราคาถูก และการประกันราคาผลผลิต
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4896
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
148145.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.84 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons