กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4915
ชื่อเรื่อง: ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิกเรื่องระบบนิเวศที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสวนศรีวิทยา จังหวัดชุมพร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of learning management using graphic organizer in the topic of ecosystem on learning achievement of Mathayom Suksa III Students at Suansriwittaya School in Chumphon Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ประจวบจิตร คำจัตุรัส, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุมลฑา กรองเห็น, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน -- ระบบนิเวศ
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องระบบนิเวศ ก่อนเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิกกับของนักเรียนที่เรียนโดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ตามปกติ (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องระบบนิเวศ หลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิกกับของนักเรียนที่เรียนโดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนสวนศรีวิทยา จังหวัดชุมพร 2 ห้องเรียน จานวน 94 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม แล้วสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลอง และ กลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิก แผนการจัดการเรียนรู้ตามปกติ และแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มี ค่าความเที่ยง .75 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน เรื่อง ระบบนิเวศ ของนักเรียนที่เรียนโดยวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิก กับของนักเรียนที่เรียนโดยวิธีการจัดการเรียนรู้ตามปกติไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญ และ (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เรื่อง ระบบนิเวศ ของนักเรียนที่เรียนโดยวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิกสูงกว่า ของนักเรียนที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้ตามปกติ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4915
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_130334.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.73 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons