Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/493
Title: | การใช้บริการสำนักหอสมุดแห่งชาติ |
Other Titles: | The use of National Library |
Authors: | ทัศนา หาญพล พรทิพย์ ยิ้มวิไล, 2499- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา อมรรัตน์ ภิญโญอนันตพงษ์ วิลัย สดงคุณห์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์ หอสมุดแห่งชาติ--การบริหาร การศึกษาการใช้ห้องสมุด--ไทย ห้องสมุด--ความพอใจของผู้ใช้บริการ--ไทย บริการสารสนเทศ--ความพอใจของผู้ใช้บริการ ห้องสมุดและบริการของห้องสมุด--การศึกษาการใช้ |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการใช้บริการ ความพึงพอใจ เปรียบเทียบความพึงพอใจและศึกษาปัญหาอุปสรรคในการใช้บริการในห้องบริการและบริการ ISBN, ISSN และ CIP ทางโทรศัพท์ของสำนักหอสมุดแห่งชาติ การสุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้บริการสำนักหอสมุดแห่งชาติมีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป แบ่งเป็นผู้ใช้บริการในห้องบริการ 12 ห้อง จำนวน 2,106 คน และผู้ใช้บริการ ISBN, ISSN และ CIP ทางโทรศัพท์ จำนวน 196 คน เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสอบกาม และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การแจกแจงความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ ANOVA การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่าผู้ใช้บริการในห้องบริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 18-25 ปี เป็นนักศึกษาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มีวัตถุประสงค์ในการใช้บริการเพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากหนังสือหรือทรัทยากรสารสนเทศที่จัดไว้ให้บริการ ความถี่ในการใช้บริการและช่วงเวลาที่ใช้บริการไม่แน่นอน ระยะเวลาที่ใช้บริการแต่ละครั้ง 1-2 ชั่วโมง วิธีการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการคือการสำรวจจากชั้นหนังสือ ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจบริการในห้องบริการโดยภาพรวมและรายห้องบริการในระดับมาก ยกเว้นห้องสังคมศาสตร์ ภาษาศาสตร์ความพึงพอใจด้านการจัดสถานที่และสภาพแวดล้อม และด้านผู้ใช้บริการอยู่ในระดับมาก ส่วนความพึงพอใจด้านทรัพยากรสารสนเทศ และด้านอื่น ๆ อยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัยพบว่า ผู้ใช้บริการที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพด่างกัน มีความพึงพอใจบริการในห้องบริการแตกด่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัญหาและอุปสรรคในการใช้บริการ พบว่า หนังสือ ตำรา และทรัพยากรสารสนเทศเก่า ชำรุด ทำให้ขาดข้อมูลที่ต้องการ เจ้าหน้าที่ที่ให้บริการและที่นั่งอ่านหนังสือมีจำนวนไม่เพียงพอให้บริการ บรรยากาศไม่มีความทันสมัยและผู้รับบริการคุยเสียงดังหรือใช้โทรศัพท์ภายในห้องผู้ใช้บริการทางโทรศัพท์ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุระหว่าง 26-35 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเป็นพนักงานบริษัท โดยใช้บริการ CIP และ ISBN เดือนละ 1 ครั้งหรือมากกว่า การใช้บริการ ISSN ส่วนใหญ่ใช้บริการนาน ๆ ครั้ง ผู้ใช้บริการมีดวามพึงพอใจบริการทางโทรศัพท์โดยภาพรวมและแต่ละบริการอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า ผู้ใช้บริการที่มีเพศและระดับการศึกษาด่างกัน มีดวามพึงพอใจบริการทางโทรศัพท์แดกต่างกันอย่างมีนัยสำดัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ส่วนผู้ใช้บริการที่มีอายุ และอาชีพต่างกัน มีดวามพึงพอใจบริการทางโทรศัพท์ไม่แตกด่างกัน ปัญหาและอุปสรรคในการใช้บริการ ISBN ได้แก่ ติดต่อไม่สะดวกเนื่องจากสายโทรศัพท์ไม่ว่าง ปัญหาและอุปสรรคในการใช้บริการ ISSN ได้แก่ หมายเลขโทรศัพท์ที่ให้บริการ นัอย ติดต่อยาก และปัญหาและอุปสรรคในการใช้บริการ C1P ได้แก่ ล่าช้า ใช้ระยะเวลารอรับหมายเลข นานเกินไป |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/493 |
Appears in Collections: | Arts-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext (9).pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License