กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4940
ชื่อเรื่อง: | การสร้างแบบฝึกเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการเขียนเรียงความสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Construction of the practice for developing capabilities of writing a composition for Mathayom Suksa II students |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรรณา บัวเกิด เสาวรส บุญสม, 2530- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี การเขียนของนักเรียน ความสามารถในการเรียนรู้ ความสามารถในเด็ก การศึกษาอิสระ--หลักสูตรและการสอน |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างแบบฝึกเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการเขียนเรียงความสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ (2) ตรวจสอบคุณภาพของแบบฝึกเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการเขียนเรียงความสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างสำหรับการตรวจสอบคุณภาพของแบบฝึกการเขียนเรียงความ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบัวเชดวิทยา จำนวน 10 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ (1) แบบฝึกเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการเขียนเรียงความที่สร้างขึ้น (2) แบบประเมินคุณภาพแบบฝึกเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการเขียนเรียงความโดยผู้เชี่ยวชาญ และ (3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการเขียนเรียงความ สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาค้นคว้ามีดังนี้ (1) แบบฝึกเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการเขียนเรียงความที่สร้างขึ้น ประกอบด้วยเนื้อหา จำนวน 6 เรื่อง ได้แก่ แบบฝึกที่ 1 เรื่อง การใช้คำ แบบฝึกที่ 2 เรื่อง ประโยคเพื่อการสื่อสาร แบบฝึกที่ 3 เรื่อง การเขียนโครงเรื่อง แบบฝึกที่ 4 เรื่อง โวหารในการเขียนเรียงความแบบฝึกที่ 5 เรื่อง การเขียนเรียงความ และแบบฝึกที่ 6 เรื่อง การเขียนเรียงความจากประสบการณ์ โดยแบบฝึกแต่ละเรื่องประกอบด้วย ใบความรู้ กิจกรรม พร้อมเฉลยท้ายเรื่อง (2) การตรวจสอบคุณภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติมโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่าแบบฝึกการเขียนเรียงความในภาพรวมมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 และ (3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อคุณภาพของแบบฝึกเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการเขียนเรียงความโดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4940 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_143437.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.27 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License