กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/494
ชื่อเรื่อง: | การนำหลักเกณฑ์กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่มาใช้กับพนักงานบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Application of tort liability for officials on CAT's employees |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กมลชัย รัตนสกาววงศ์ เบญจมาศ แก้วไวยุทธิ์, 2505- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชากฎหมายมหาชน -- วิทยานิพนธ์ ความรับผิด (กฎหมาย) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์--ละเมิด |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาขอบเขตการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2546 ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ. ศ. 2542 (2) ศึกษา แนวคิดทฤษฎีและหลักกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของต่างประเทศและประเทศไทย (3) วิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของพนักงานบริษัท กสท โทรคมนาคม จํากดั (มหาชน) (บริษัท กสท) (4) เสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการนำกฎหมายเรื่องความรับผิด ทางละเมิดของเจ้าหน้าที่มาใช้กับพนักงานบริษัท กสท การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร จากการเก็บ รวบรวมข้อมูลกฎหมาย บทความ และเอกสารต่าง ๆ เพื่อศึกษาเรื่องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ผลบังคับใช้ของมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 แนวคิดทฤษฎีหลักกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ผลการศึกษาพบว่า (1) จากการแปลงสภาพการสื่อสารแห่งประเทศไทย ที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติ การสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 เป็น บริษัท กสท ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มีผลทําให้บริษัทมีฐานะเป็นนิติบุคลเอกชนและไม่มีการใช้อํานาจรัฐ เนื่องจากมีคณะกรรมการ กสทช. เป็นผู้อนุญาตในการประกอบกิจการโทรคมนาคม ทั้งนี้แม้บริษัท กสท จะอยู่ในสถานะรู้ฐวิสาหกิจตามความหมายในมาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ 2502 แต่ก็ไม่อยู่ในความหมาย “หน่วยงานของรัฐ” ตามพระราชบญญัติ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (2) ตามแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่โดยหลักแล้วจะมุ่งเน้นที่ การสร้างความมั่นใจในการบังคับใช้กฎหมายให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ (3) แม้บริษัท กสท จะไม่ได้ใช้อํานาจรัฐในการบังคับใช้กฎหมายแล้วก็ตาม แต่จากการศึกษาพบข้อดี้ในการใช้หลักเกณฑ์ความรับผิดทางละเมิด “โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง และรับผิดตามสัดส่วนแห่งการกระทํา” ตามหลักกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่สามารถนำมาใช้กับพนักงานบริษัท กสท โดยถือเป็นข้อบังคับการทำงาน และเป็นสภาพการจ้างที่มีอยู่ก่อนการแปลงสภาพตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2546 และ พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 มาตรา 25 เนื่องจากมีบทบัญญัติกำหนดว่าพนักงานและลูกจ้างที่โอนไปยัง บริษัทต้องได้รับสิทธิประโยชน์ไม่น้อยกว่าที่เคยได้รับอยู่เดิม อย่างไรก็ตามอาจถูกโต้แย้งในหลักกฎหมายเรื่องความรับผิดทางละเมิดของพนักงานในลักษณะของบริษัทเอกชน ซึ่งข้อโต้แย้งด้งกล่าวจะสิ้นสุดลงเมื่อบริษัท กสท เข้าสู่ตลาดหลักทรัพยแห่งประเทศไทย (4) ข้อเสนอแนะคือบริษัท กสท ควรทบทวนหลักเกณฑ์ข้อกำหนดความรับผิดทางแพ่งของพนักงานให้สอดคล้องตามกฎหมายทุนรัฐวิสาหกิจดังกล่าว |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555. |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/494 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
130317.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 21.55 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License