กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/500
ชื่อเรื่อง: | การกลั่นกรองพยานหลักฐานกับการใช้หลักกฎหมายเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม (ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 87(2)) |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Witness and evidences filter system and law for the justice according to the computation of the Civil Law Article 87(2) |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | มาลี สุรเชษฐ บุณยรัตน์ เปาะทองคำ, 2516- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ประพันธ์ ทรัพย์แสง |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--วิทยานิพนธ์ พยานหลักฐาน--ไทย--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ. |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวคิด ความเป็นมาหลักการและวิวัฒนาการในเรื่องการรับ ฟังพยานหลักฐาน และการกลั๋นกรองพยานหลักฐานในระบบกฎหมายซิวิลลอว์ (Civil Law) และระบบกฎหมาย คอมมอนลอว์ (Comond Law) รวมทั้งบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับการรับฟังพยานหลักฐานและการกลั่นกรอง พยานหลักฐานก่อนนำไปสู่ขั้นตอนการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน ตลอดจนกฎหมายไทยเกี่ยวกับการรับฟัง พยานหลักฐานและระบบการกลั่นกรองพยานหลักฐานก่อนไปสู่ขั้นตอนการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานกับการใช้ หลักกฎหมายเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมของศาลไทย โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบกับระบบกฎหมายดังกล่าว เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการใช้อำนาจศาลในการกลั่นกรองพยานหลักฐานกับการใช้หลักกฎหมายเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ซึ่งใช้วิธีการ (method) ศึกษาข้อมูลที่ ผสมผสานกันระหว่างการวิจัยเอกสาร การสังเกต และศึกษาจากคดีที่เกิดขึ้นจริง ในการวิจัยเอกสารใช้เอกสารทั้ง ขั้นปฐมภูมิ (Primary document) และขั้นทุติยภูมิ (Secondary document) ตัวบทกฎหมายในรูปแบบของประมวล กฎหมาย พระราชบัญญัติ หนังสือตำราทางวิชาการ รายงานการศึกษา วิทยานิพนธ์ บทความ และเอกสารต่างๆ ในรูปแบบอื่นๆ เป็นต้น จากนั้นนำข้อมูลทั้งหลายที่ได้ดังกล่าวมาทำการวิเคราะห์เพื่อตอบคำถามของการวิจัย (research question) โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ให้สอดคล้องกับประเด็นที่ได้ตั้งสมมติฐานไว้ภายใต้หลักการทฤษฎี และหลักกฎหมาย จากการศึกษาวิจัยทำให้ทราบถึงแนวคิด ความเป็นมา และวิวัฒนาการในเรื่องการรับฟัง พยานหลักฐานในระบบกฎหมายซิวิลลอว์ (Civil Law) และระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Comond Law) ทำให้เข้าใจหลักการวิวัฒนาการ และแนวทางในการรับฟังพยานหลักฐาน การกลั่นกรองพยานหลักฐาน และการ แก้ปัญหาเกี่ยวกับการใช้อำนาจศาลในการกลั่นกรองพยานหลักฐานกับการใช้หลักกฎหมายเพื่อประโยชน์แห่่ง ความยุติธรรม และทำให้สามารถประยุกต์ใช้และพัฒนากระบวนการพิจารณาที่เกี่ยวกับการรับฟังพยานหลักฐานและการกลั่นกรองพยานหลักฐานอย่าง มีระบบเพื่อให้มีประสิทธิภาพ มีความเที่ยงธรรม และเกิดประโยชน์สูงสุด |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/500 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
138360.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.45 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License