กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/509
ชื่อเรื่อง: | รูปแบบการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่สู่คุณภาพการศึกษาที่พึงประสงค์ในบริบทที่เปลี่ยนแปลง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Model of new normal school administration to desirable educational quality in changing context |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อัจฉรา นิยมาภา |
คำสำคัญ: | การบริหารการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
แหล่งอ้างอิง: | วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 14, ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2564), หน้า 178-196 |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่และคุณภาพการศึกษาที่พึงประสงค์ในบริบทที่เปลี่ยนแปลง 2) พัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่สู่คุณภาพการศึกษาที่พึงประสงค์ในบริบทที่เปลี่ยนแปลง 3) ทดลองใช้รูปแบบในสถานศึกษา และ 4) ตรวจสอบความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของรูปแบบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 240 คนผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่ ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ นโยบายเชิงรุก โครงสร้างองค์กรแบบยืดหยุ่น ระบบปฏิบัติงานแนวใหม่ พัฒนาหลักสูตรแบบพลิกผัน จัดการเรียนรู้อิงบริบท และประเมินผลแบบสหวิถี ส่วนคุณภาพการศึกษาที่พึงประสงค์ ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ความสามารถในการปรับตัว การบรรลุเป้าหมายในสถานการณ์พลิกผัน คุณภาพของผู้เรียนในบริบทที่เปลี่ยนแปลง ความพึงพอใจของหุ้นส่วน 2) รูปแบบที่พัฒนาเรียกว่า PSPCLE Model ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ (1) มโนทัศน์การบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่ 3 ด้าน (2) แนวทางการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่ 6 ด้าน และ (3) เงื่อนไขความสำเร็จการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่ 4 ด้าน 3) ผลการประเมินหลังการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า PSPCLE Model มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และ 4) ผลการตรวจสอบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของรูปแบบ พบว่า รูปแบบมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า Chi-Square /df = 1.485, p-value = 0.07494 GFI = 0.98 RMSEA = 0.036 ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาควรพลิกโฉมการบริหารสถานศึกษา วิถีใหม่ โดยจัดทำนโยบายเชิงรุก ปรับโครงสร้างองค์กรแบบยืดหยุ่น พัฒนาระบบปฏิบัติงานแนวใหม่ พัฒนาหลักสูตรแบบพลิกผัน จัดการเรียนรู้อิงบริษัท และประเมินผลแบบสหวิถี |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/509 |
ISSN: | 1905-4653 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | STOU Education Journal |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License