Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5159
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วัลภา สบายยิ่ง | th_TH |
dc.contributor.author | บัญนษร สันฐาน, 2524- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-03-29T03:44:23Z | - |
dc.date.available | 2023-03-29T03:44:23Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5159 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการให้บริการแนะแนวของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (2) เปรียบเทียบความพึงพอใจที่มีต่อการให้บริการแนะแนวของนักศึกษาจำแนกตามเพศ ผลการเรียนสะสม กลุ่มสาขาวิชา ชั้นปีที่ศึกษาและภูมิลำเนา และ (3) ศึกษาปัญหา/อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการให้บริการแนะแนวของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยการเก็บข้อมูลผู้มารับบริการในช่วงเดือน กันยายน – ตุลาคม 2555 จำนวนรวม 311 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนและการวิเคราะห์เนื้อหา สรุปผลการวิจัยพบว่า (1) ข้อมูลด้านสถานภาพส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ผลการเรียนสะสม สังกัดสาขาวิชา ชั้นปีที่ศึกษา และ ภูมิลาเนา พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นเพศหญิง มีผลการเรียนสะสม 2.01 – 2.50 สังกัดสาขาวิชาการออกแบบตกแต่งภายในและนิทรรศการและการออกแบบกราฟิกและมัลติมีเดีย ชั้นปีที่ 1 และมีภูมิลำเนาอยู่ในภาคใต้ (2) ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อบริการแนะแนวของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยภาพรวมทั้ง 6 ด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก บริการที่นักศึกษามีความพึงพอใจมากที่สุด คือ บริการสนเทศ รองลงมา คือ บริการติดตามและประเมินผล บริการทั่วไป บริการให้คาปรึกษา บริการรวบรวมข้อมูลเป็นรายบุคคล และบริการจัดวางตัวบุคคล เรียงตามลาดับ (3) ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักศึกษา จำแนกตามเพศ ผลการเรียนสะสม กลุ่มสาขาวิชา ภูมิลำเนา ผลการวิเคราะห์พบว่า นักศึกษาที่มีสถานภาพดังกล่าวข้างต้นที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อบริการแนะแนวของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามชั้นปีที่ศึกษา พบว่าชั้นปีที่ศึกษา ที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อบริการแนะแนวของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาโดยแตกต่างกัน (4) ปัญหาและอุปสรรคที่พบต่อการให้บริการแนะแนวของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา พบว่า เจ้าหน้าที่ยังขาดความรู้ ความสามารถในการให้บริการแนะแนวแก่นักศึกษาและ คณะมีพื้นที่คับแคบ ขาดห้องบริการแนะแนวที่เป็นเฉพาะ ส่วนข้อเสนอแนะพบว่าคณะควรเพิ่มเก้าอี้ในการนั่งพักเพื่อรอรับบริการและควรติดประกาศขั้นตอน ระยะเวลาในการให้บริการเพื่อให้นักศึกษาทราบ มีการแจ้งกิจกรรมต่างๆ ให้นักศึกษาทราบล่วงหน้าและติดประกาศตารางกิจกรรมอย่างชัดเจน รวมทั้งควรจัดสรรทุนอย่างทั่วถึงและยุติธรรม | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม--ความพอใจของผู้ใช้บริการ | th_TH |
dc.title | ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการให้บริการแนะแนวของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา | th_TH |
dc.title.alternative | Satisfaction of students with guidance service provision of the Faculty of Industrial Technology, Suan Sunandha Rajabhat University | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to (1) investigate the satisfaction of students with guidance service provision of the Faculty of Industrial Technology, Suan Sunandha Rajabhat University; (2) to compare the levels of satisfaction with the guidance service provision of the students as classified by gender, grade – point average (GPA), major field of study, year level, and domicile; and (3) to study problems/obstacles and recommendations concerning guidance service provision of the Faculty of Industrial Technology, Suan Sunandha Rajabhat University. The research samples consisted of 311 students of the Faculty of Industrial Technology, Suan Sunandha Rajabhat University, Who came to receive the guidance service during September – October 2012. The employed data collecting instrument was a questionnaire developed by the researcher. The research data was analyzed using the percentage, mean, standard deviation, t-test, ANOVA, and content analysis. Conclusions from the research findings were as follows: (1) Regarding personal information including gender, GPA, major field of study, year level, and domicile, it was found that the majority of students of the Faculty of Industrial Technology, Suan Sunandha Rajabhat University were females, with GPAs in the range of 2.01 – 2.50, with majoring in the fields of interior decoration, and exhibition and graphic and multimedia design, being the first year students, and with domicile in the Southern Region. (2) Regarding the students’ level of satisfaction with guidance service provision of the Faculty of Industrial Technology, Suan Sunandha Rajabhat University, it was found that their overall satisfaction with all six aspects of the service was at the high level. The aspect receiving the highest level of satisfaction was that of the information service, followed-up and evaluation service, general service, counseling inventory service, and placement service, respectively. (3) Regarding comparison results of satisfaction levels of the students, it was found that students with different genders, GPAs, major fields of study, and domiciles did not significantly differ in their overall satisfaction levels with the guidance service provision. However, students studying in different year levels differed significantly in their overall satisfaction levels with the guidance service provision. (4) regarding the problems/obstacles of guidance service provision of the Faculty of Industrial Technology, Suan Sunandha Rajabhat University, it was found that the staff still lacked knowledge and ability for providing the guidance and counseling service to students. Moreover, the area of the Faculty was narrow and there was no specific counseling room. Therefore, some suggestions were recommended as follows: the faculty should provide more chairs for the student to sit on while waiting for the counseling service, notification on the service process and service hours should be post for the students, activities timetable should be announced in advance and posted clearly, and funds should be allocated thoroughly and fairly. | en_US |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_132621.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License