Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5159
Title: | ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการให้บริการแนะแนวของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
Other Titles: | Satisfaction of students with guidance service provision of the Faculty of Industrial Technology, Suan Sunandha Rajabhat University |
Authors: | วัลภา สบายยิ่ง บัญนษร สันฐาน, 2524- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม--ความพอใจของผู้ใช้บริการ |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการให้บริการแนะแนวของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (2) เปรียบเทียบความพึงพอใจที่มีต่อการให้บริการแนะแนวของนักศึกษาจำแนกตามเพศ ผลการเรียนสะสม กลุ่มสาขาวิชา ชั้นปีที่ศึกษาและภูมิลำเนา และ (3) ศึกษาปัญหา/อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการให้บริการแนะแนวของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยการเก็บข้อมูลผู้มารับบริการในช่วงเดือน กันยายน – ตุลาคม 2555 จำนวนรวม 311 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนและการวิเคราะห์เนื้อหา สรุปผลการวิจัยพบว่า (1) ข้อมูลด้านสถานภาพส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ผลการเรียนสะสม สังกัดสาขาวิชา ชั้นปีที่ศึกษา และ ภูมิลาเนา พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นเพศหญิง มีผลการเรียนสะสม 2.01 – 2.50 สังกัดสาขาวิชาการออกแบบตกแต่งภายในและนิทรรศการและการออกแบบกราฟิกและมัลติมีเดีย ชั้นปีที่ 1 และมีภูมิลำเนาอยู่ในภาคใต้ (2) ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อบริการแนะแนวของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยภาพรวมทั้ง 6 ด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก บริการที่นักศึกษามีความพึงพอใจมากที่สุด คือ บริการสนเทศ รองลงมา คือ บริการติดตามและประเมินผล บริการทั่วไป บริการให้คาปรึกษา บริการรวบรวมข้อมูลเป็นรายบุคคล และบริการจัดวางตัวบุคคล เรียงตามลาดับ (3) ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักศึกษา จำแนกตามเพศ ผลการเรียนสะสม กลุ่มสาขาวิชา ภูมิลำเนา ผลการวิเคราะห์พบว่า นักศึกษาที่มีสถานภาพดังกล่าวข้างต้นที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อบริการแนะแนวของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามชั้นปีที่ศึกษา พบว่าชั้นปีที่ศึกษา ที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อบริการแนะแนวของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาโดยแตกต่างกัน (4) ปัญหาและอุปสรรคที่พบต่อการให้บริการแนะแนวของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา พบว่า เจ้าหน้าที่ยังขาดความรู้ ความสามารถในการให้บริการแนะแนวแก่นักศึกษาและ คณะมีพื้นที่คับแคบ ขาดห้องบริการแนะแนวที่เป็นเฉพาะ ส่วนข้อเสนอแนะพบว่าคณะควรเพิ่มเก้าอี้ในการนั่งพักเพื่อรอรับบริการและควรติดประกาศขั้นตอน ระยะเวลาในการให้บริการเพื่อให้นักศึกษาทราบ มีการแจ้งกิจกรรมต่างๆ ให้นักศึกษาทราบล่วงหน้าและติดประกาศตารางกิจกรรมอย่างชัดเจน รวมทั้งควรจัดสรรทุนอย่างทั่วถึงและยุติธรรม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5159 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_132621.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License