กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5171
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในตำบลพังเทียม อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors affecting of political participation by citizens of Pangtiam Sub-District, Phra Thong Kham District, Nakhon Ratchasima Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เสนีย์ คำสุข พรทิพย์ อริยเดช, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี การมีส่วนร่วมทางการเมือง--ไทย--นครราชสีมา การเมือง--การมีส่วนร่วมของประชาชน การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง |
วันที่เผยแพร่: | 2554 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในตำบลพังเทียม อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา และ (2) ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในตำบลพังเทียม อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา ผลการวิจัยพบว่า (1) การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในตำบลพังเทียม อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา (1.1) การรับรู้ข่าวสารทางการเมือง มีการติดตามจากวิทยุโทรทัศน์ ร้อยละ 81.3 จากหนังสือพิมพ์ ร้อยละ 53.0 ผ่านทางเสียงตามสาย ร้อยละ 47.8 จากการสนทนา ร้อยละ 44.2 จากวิทยุกระจายเสียง ร้อยละ 42.3 (1.2) การมีส่วนร่วมทางการเลือกตั้งกลุ่มทีมีมาก เนื่องจาก ประชาชนมีความเชื่อ มีความศรัทธาต่อตัวนักการเมืองท้องถิ่น และมีความสนใจที่แตกต่างกันไปในกลุ่มของประชาชนในแต่ละท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมทางการเลือกตั้งกลุ่มทีมีน้อย เนื่องจาก ประชาชนถูกบีบบังคับให้ออกไปมีส่วนร่วมทางการเมืองหรือโดยไม่สมัครใจ (1.3) การมีส่วนร่วมผ่านระบบหัวคะแนนและซื้อสิทธิ์ ขายเสียง กล่าวคือ การแนะนาให้ทราบถึงผลดี ผลเสียของการซื้อสิทธิ์ ขายเสียง และนักการเมืองต้องมีจริยธรรม มีความพร้อมที่จะเป็นตัวแทนของประชาชน ซึ่งอยู่ในระดับค่าเฉลี่ย 4.23 มากเท่ากัน และด้านที่อยู่ในระดับปานกลางมีระดับค่าเฉลี่ย 3.33 คือ เมื่อมีการเลือกตั้งนักการเมืองและประชาชนมีการซื้อสิทธิ์ ขายเสียง (2) ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในตำบลพังเทียม อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา พบว่า เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้ อาชีพ การรับรู้ข่าวสารทางการเมือง และสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น “ไม่มีผล” ต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง แต่อย่างใด |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5171 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
128246.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.97 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License