กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5202
ชื่อเรื่อง: การศึกษากระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลเมืองแม่สอด จังหวัดตาก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study of internal supervision process in schools under Maesot Town Municipality in Tak Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อรรณพ จีนะวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิริ กันทะวงษ์, 2501-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การนิเทศการศึกษา
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดเทศบาลเมืองแม่สอด จังหวัดตาก 2) ศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางพัฒนากระบวน การนิเทศภายในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลเมืองแม่สอด จังหวัดตาก ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและพนักงานครูเทศบาล สังกัดเทศบาลเมืองแม่สอด จังหวัดตาก จำนวน 168 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 9 คน และพนักงานครูเทศบาลจำนวน 159 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) สถานศึกษามีการปฏิบัติตามกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา ทั้ง 5 ขั้นตอน อยู่ในระดับมาก 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย เพื่อกำหนดจุดที่จะพัฒนาการหาแนวทางเลือกเพื่อจะพัฒนา การลงมือปฏิบัติการติดตาม ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไข และมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง 1 ขั้นตอนคือ การประเมิน ความต้องการในการพัฒนา 2) สถานศึกษามีปัญหาการปฏิบัติในกระบวนการนิเทศภายใน สถานศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง คือ การวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย เพื่อกำหนดจุดที่จะพัฒนา และอยู่ในระดับน้อยได้แก่ การประเมินความต้องการในการพัฒนาการหาแนวทางเลือกเพื่อจะพัฒนาการลงมือปฏิบัติ การติดตามประเมินผล และปรับปรุงแก้ไข 3) แนวทางพัฒนากระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาที่สำคัญ คือ ควรสร้างแบบสำรวจความต้องการของคณะผู้บริหาร คณะครูด้านการนิเทศการเรียนการสอน ควรมีการประเมินความต้องการในการพัฒนา ด้วยวิธีที่หลากหลาย ควรมีการกระต้นให้คณะครูได้มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย ควรมีการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาครูด้วยการจัดอบรม ศึกษาดูงาน ประชุม สัมมนาเกี่ยวกับการปฏิบัติในกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5202
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
113500.pdf2.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons