กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5243
ชื่อเรื่อง: | ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคมของผู้ต้องขังที่กระทำผิดวินัย เรือนจำกลางบางขวาง จังหวัดนนทบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effects of using a guidance activities package to develop social intelligence of prisoners Who violated discipline in Bang Kwang Central Prison, Nonthaburi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุขอรุณ วงษ์ทิม ธนิตศักดิ์ ลิ้มสุวรรณภัทร์, 2498- |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี การแนะแนว--กิจกรรมการเรียนการสอน ความฉลาดทางสังคม นักโทษ การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความฉลาดทางสังคม ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวของผู้ต้องขังที่กระทำผิดวินัยกลุ่มทดลอง (2) เปรียบเทียบความฉลาดทางสังคมหลังการทดลอง ระหว่างผู้ต้องขังที่กระทำผิดวินัยกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมและ (3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคมรูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทคลอง มีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ต้องขังเรือนจำกลางบางขวาง แดน 6 จังหวัดนนทบุรี จำนวน 30 คน ที่มีคะแนนจากแบบวัดความฉลาดทางสังคมตั้งแต่เปอร์เซ็น ไทล์ที่ 50 ลงมาและสมัครใจเข้าร่วมการทดลองจากนั้นจึงสุ่มอย่างง่าย เพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวน กลุ่มละ 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบวัดความฉลาดทางสังคม ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 84 (2) ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคม และ (3) แบบวัดความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที่ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคม มีความฉลาดทางสังคมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีความฉลาดทางสังคมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (3) ความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคมของกลุ่มทดลองอยู่ในระดับมาก. |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5243 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT_164020.pdf | เอกสารฉบับพิมพ์ | 18.46 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License