Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/524
Title: | การรับรู้และการได้รับการปฏิบัติตามสิทธิผู้ป่วยของผู้ป่วยในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี |
Authors: | พรทิพย์ เกยุรานนท์ วัชราภรณ์ สายทอง, 2507- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา โกวิน วิวัฒนพงศ์พันธ์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการรับ (และการได้รับการปฏิบัติตามสิทธิของผู้ป่วย (2) เปรียบเทียบความการรับรู้สิทธิผู้ป่วยตามลักษณะงานหอผู้ป่วย ลักษณะส่วนบุคคล ลักษณะการใช้บริการ และลักษณะการรับรู้ข้อมูลเรื่องสิทธิผู้ป่วย และ (3) เปรียบเทียบการได้รับการปฏิบัติตามสิทธิผู้ป่วยตามลักษณะงานหอผู้ป่วย ลักษณะส่วนบุคคล ลักษณะการใช้บริการ และลักษณะการรับรู้ข้อมูลเรื่องสิทธิผู้ป่วยของผู้ป่วยในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในครั้งนี้ เป็นผู้ป่วยในที่เข้ารับการรักษาในงานหอผู้ป่วยศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ จักษุ-โสต-ศอ-นาสิก สูติ-นรีเวชกรรม กุมารเวชกรรมและอายุรกรรมที่ได้รับการคัดเลือกตัวอย่างแบบโควต้า ตามสัดส่วนผู้ป่วยของแต่ละงานหอผู้ป่วย จำนวนตัวอย่าง 380 คน การเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลใช้การสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบครัสคัลวอลลิส การทดสอบแมนน์วิทนีย์ ยู การทดสอบค่าที และการวัคความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ป่วยในของโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงศ์ส่วนใหญ่มีการรับรู้สิทธิผู้ป่วยอยู่ในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 86.2 และได้รับการปฏิบัติตามสิทธิของตนอยู่ในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 88.3 (2) ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในงานหอผู้ป่วยต่างกัน มีอายุการศึกษา อาชีพ ประสบการณ์การได้รับข้อมูลเรื่องสิทธิผู้ป่วย และระยะเวลาของการนอนในโรงพยาบาลต่างกัน มีการรับรู้สิทธิผู้ป่วยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนผู้ป่วยที่มีเพศ รายได้ ประสบการณ์การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ประสบการณ์การเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วย และความถี่ของการได้รับข้อมูลเรื่องสิทธิผู้ป่วยต่างกัน มีการรับรู้สิทธิผู้ป่วยไม่แตกต่างกัน และ (3) ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในงานหอผู้ป่วยต่างกัน มีประสบการณ์การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และประสบการณ์การได้รับข้อมูลเรื่องสิทธิผู้ป่วยต่างกัน ไต้รับการปฏิบัติตามสิทธิผู้ป่วยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนผู้ป่วยที่มีเพศ อายุ การศึกษาอาชีพ รายได้ ประสบการณการเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วย ระยะเวลาของการนอนในโรงพยาบาล และความถี่ของการได้รับข้อมูลเรื่องสิทธิผู้ป่วยต่างกัน ได้รับการปฏิบัติตามสิทธิผู้ป่วยไม่แตกต่างกัน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/524 |
Appears in Collections: | Health-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License