กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5288
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาการนิเทศการสอนสำหรับครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidelines for development of the teaching supervision for teachers in Schools under Surat Thani City Municipality
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชูชาติ พ่วงสมจิตร์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุรีย์ พยายม, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การนิเทศการศึกษา
ครู--การทำงาน.--ไทย
โรงเรียนสังกัดเทศบาล--ไทย--สุราษฎร์ธานี
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการนิเทศการสอนสำหรับครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี (2) ศึกษาความคาดหวังต่อการนิเทศการสอน (3) ศึกษาความต้องการจำเป็นต่อการนิเทศการสอนและ (4) นำเสนอแนวทางการพัฒนาการนิเทศการสอน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนในโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จำนวน 181 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเคร็จซี่และมอร์แกน และการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าแบบตอบสนองคู่ ประกอบด้วย ข้อมูล สภาพปัจจุบันและความคาดหวังต่อการนิเทศการสอน ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .958 และ .985 ตามลำดับ และ (2) แบบพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อแนวทางการพัฒนาการนิเทศการสอนสำหรับผู้บริหารระดับสูงสังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีจำนวน 12 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์ เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) สภาพปัจจุบันของการนิเทศการสอนสำหรับครูผู้สอนโดยภาพ รวมอยู่ในระดับมาก (2) ความคาดหวังต่อการนิเทศการสอนของครูผู้สอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด (3) ความต้องการจำเป็นสำหรับการนิเทศการสอนเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการผลิตและการใช้สื่อการเรียนการสอน ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการวัดผลและประเมินผล และด้านการพัฒนาหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ และ (4) แนวทางการพัฒนา การนิเทศการสอน ได้แก่ การจัดสรรงบประมาณ, การจัดกิจกรรม การสร้างเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ การผลิต การจัดนิทรรศการ การสาธิต การประกวดสื่อฯ การวางระบบงาน การนำระบบด้านสื่อเทคโนโลยีนวัตกรรมไปใช้ การกำหนดนโยบาย การนิเทศการสอน การจัดอบรม การศึกษาดูงาน การลดภาระงานอื่น การปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน การสร้างบรรยากาศที่ดีในการจัดการเรียนรู้ การนิเทศกำกับติดตาม การปรับกระบวนการ การจัดทำสารสนเทศ การวัดและประเมินผลผ่านระบบ IT การสำรวจความต้องการ การกำหนดให้ใช้รูปแบบ Backward Design และการประชุมเชิงปฏิบัติการ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5288
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
152457.pdf19.67 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons