กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/528
ชื่อเรื่อง: แนวทางการบริหารจัดการของเสียอุตสาหกรรมของโรงงานผลิตผลไม้และผักกระป๋อง
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศริศักดิ์ สุนทรไชย, อาจารย์ที่ปรึกษา
จักรกฤษณ์ ศิวะเดชาเทพ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ลัดดา ตั้งบรรลือกาล, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมชาย รุ่งเรือง, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
วันที่เผยแพร่: 2545
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการ ชนิดและปริมาณของเสียอุตสาหกรรมจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ ของโรงงานผลิตผลไม้และผักกระป๋อง (2) พัฒนาแนวทางการบริหารจัดการของเสียอุตสาหกรรมของโรงงานผลิตผลไม้และผักกระป๋อง และ (3) เปรียบเทียบชนิด ปริมาณของเสียอุตสาหกรรม และค่าใช้จ่ายในการกำจัดของเสีย ก่อนและหลังดำเนินการปฏิบัติตามแนวทางการบริหารจัดการของเสียอุตสาหกรรม ในการศึกษาครั้งนี้ได้สำรวจสภาพปัจจุบันของโรงงานผลิตผลไม้และผักกระป๋อง จำนวน 1 โรงงาน ในจังหวัดราชบุรี โดยทำการศึกษากระบวนการผลิตแหล่งกำเนิดของของเสียอุตสาหกรรมหลัก 19 ชนิด และทำการสัมภาษณ์เพื่อทดสอบความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการของเสียอุตสาหกรรมของบุคลากรในโรงงาน 1 ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่ายโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเฌ จำนวน 119 คน โดยเป็นพนักงานระดับบริหาร จำนวน 2 คน ระดับหัวหน้างาน จำนวน 32 คน และพนักงานทั่วไป จำนวน 85 คน ข้อมูลที่ได้นำไปใช้ในการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการของเสียอุตสาหกรรม ซึ่งต้องมีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการของเสียอุตสาหกรรมแก่พนักงาน มีการทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรมแล้วให้โรงงานได้ปฏิบัติตามแนวทางการบริหารจัดการของเสียอุตสาหกรรม หลังจากการดำเนินการ 2 เดือน ได้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบผลก่อนและหลังดำเนินการตามแนวทางการบริหารจัดการของเสียอุตสาหกรรม โดยใช้สถิติร้อยละ การแจกแจงความถี่ คำเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษามีดังนี้ (1) โรงงานไม่มีระบบการบริหารจัดการของเสียอุตสาหกรรม ไม่มีการระบุแหล่งกำเนิดของของเสียอุตสาหกรรมหลัก 19 ชนิด ปริมาณรวม 5,651 กิโลกรัม (2) ได้พัฒนาแนวทางการบริหารจัดการของเสียอุตสาหกรรมโดยอิงกฎหมาย องค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมโลกของประเทศสหรัฐอเมริกาให้โรงงานได้ปฏิบัติตามพบว่าโรงงานได้มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาขี้นหลังจากทำการอบรมพนักงานส่วนใหญ่มีความรู้และทัศนคติที่ถูกต้องมากขึ้นตามแนวทางการบริหารจัดการของเสียอุตสาหกรรม และ (3) หลังทำเน้นการปฏิบัติตามแนวทางการบริหารจัดการของเสียอุตสาหกรรม โรงงานมีการบริหารจัดการของเสียอุตสาหกรรมที่เป็นระบบ มีการระบุแหล่งกำเนิดของของเสียอุตสาหกรรม โดยมีชนิดของของเสียอุตสาหกรรมเท่าเติม แต่มีปริมาณลดลงร้อยละ 23.65 และค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการของเสียอุตสาหกรรมไม่แตกต่างจากเดิม แม้ว่ามีของเสียอุตสาหกรรม 19 ชนิดเท่าเดิมแต่มีปริมาณลดลงทำใหัโรงงานมีรายได้จากการขายของเสียอุตสาหกรรม ประเภทที่นำกลับมาใช้ใหม่จากเดิม 969 บาท ลดลงร้อยละ 38.70 ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาการบริหารจัดการของเสียอุตสาหกรรมที่เป็นระบบมากยิ่งขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/528
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
79055.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.44 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons