Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/530
Title: การใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ของอาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Other Titles: Use of electronic jounals by Faculty Members and Graduate Students in Social Sciences and Humanities at Mahidol University
Authors: สมสรวง พฤติกุล
รุ่งอรุณ สิงคลีประภา, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สมพร พุทธาพิทักษ์ผล
พวา พันธุ์เมฆา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์
วารสารอิเล็กทรอนิกส์--การศึกษาการใช้
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการใช้และการไม่ใช้ วิธีการใช้ ความคิดเห็น และปัญหาการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ของอาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ได้รับแบบสอบถามคืน 388 ชุด โดยเป็นอาจารย์ 93 คน นักศึกษาปริญญาเอก 69 คน และนักศึกษาปริญญาโท 226 คน สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ที-เทสต์และความแปรปรวนทางเดียว โดยเปรียบเทียบรายคู่ด้วยสถิตินิวแมน-คูลส์ ผลการวิจัยพบว่าอาจารย์ร้อยละ 66.7 และนักศึกษาร้อยละ 63.4ใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ วัตถุประสงค์ที่อาจารย์ใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดิดตามความรู้ใหม่ เป็นความก้าวหน้าในสาขาวิชาตนเอง และนักศึกษาใช้เพื่อทำวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ อาจารย์ร้อยละ 33.3 และนักศึกษาร้อยละ 36.6 ไม่ใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์เหตุผลที่อาจารย์และนักศึกษาไม่ใช้คือ ชอบอ่านบทความบนกระดาษมากกว่าจอคอมพิวเตอร์ไม่ทราบวิธีการใช้ให้เข้าถึงวารสารอิเล็กทรอนิกส์ และไม่สะดวกใช้คอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ต วิธีการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ของอาจารย์ คือ อ่านบทความฉบับเต็มในสาขาวิชาที่สนใจ มีวิธีการค้นหาโดยการเรียน (ด้วยตนเองจากประสบการณ์ลันหาบนอินเทอร์เน็ด ทราบแหล่งใช้บริการวารสารอิเล็กทรอนิกส์จากการประชาสัมพันธ์บนโอมเพจ/เอกสารของห้องสมุดคณะ/สถาบัน/วิทยาลัย ใช้โปรแกรมค้นหาเป็นช่องทางในการเข้าถึงแหล่งวารสารอิเล็กทรอนิกส์ และนักศึกษามีวิธีการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ คือ อ่านบทความ หน้าจอคอมพิวเตอร์และเลือกพิมพ์ผลที่ต้องการ เลือกอ่านเฉพาะบทความฉบับเต็มวารสารในสาชาวิชาที่สนใจ ส่วนวิธีการค้นหาและการเรียน (ถึงแหล่งวารสารเหมือนกับอาจารย์ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ของอาจารย์คือ เข้าถึงบทความได้จากที่ทำงานหรือบ้าน ส่วนนักศึกษาเห็นว่าประหยัดกว่าการใช้วารสารฉบับพิมพ์ ทั้งอาจารย์และนักศึกษามีปัญหาการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์เหมือนกัน คือ การใช้ขึ้นอยู่กับคอมพิวเตอร์และเครือข่าย และการเข้าถึงฐานข้อมูลมีข้อจำกัดการทดสอบสมมติฐานพบว่า อาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการและวุฒิการศึกษาต่างกัน มีวิธีการใช้ความคิดเห็นและปัญหาการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิดิที่ระดับ .05 และนักศึกษาที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีวิธีการใช้และปัญหาการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/530
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.36 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons