Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5316
Title: สภาพ ปัญหา และแนวทางการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและโรงเรียนบ้านแหลมทอง จังหวัดกาญจนบุรี
Other Titles: The conditions, problems and guidelines for developing relationship between the community and Ban Lam Thong School in Kanchanaburi Province
Authors: เก็จกนก เอื้อวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุริยะ จันทร์สนอง, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ชุมชนกับโรงเรียน--ไทย--กาญจนบุรี.
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพและปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและโรงเรียนบ้านแหลมทอง จังหวัดกาญจนบุรี และ (2) แนวทางการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและโรงเรียนบ้านแหลมทอง จังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ครู 6 คน คณะกรรมการสถานศึกษา 7 คน ผู้ปกครอง นักเรียนและชุมชนบ้านแหลม จังหวัดกาญจนบุรี 8 คน รวมทั้งสิ้น 21 คน เครื่องมือในการเก็บข้อมูลได้แก่ แนวคำถามในการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) โรงเรียนมีความสัมพันธ์กับชุมชนไม่ดีนัก มีการให้บริการ ห้องสมุด ห้องประชุมแก่ชุมชนเป็นบางครั้ง ครูไม่ค่อยได้ร่วมกิจกรรมของชุมชน ผู้ปกครองและชุมชนเข้าไปมีส่วนร่วมกิจกรรมของโรงเรียนน้อย โรงเรียนได้รับการสนับสนุนด้านทรัพยากรน้อยลง การประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึงและขาดความสม่ำเสมอ ส่วนปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนพบว่า โรงเรียนขาดความพร้อมด้านสถานที่ อุปกรณ์ และบุคลากรมีจำนวนน้อย ไม่เพียงพอในการให้บริการ ชุมชนขาดความเชื่อมั่นในความสามารถของครู ครูไม่ค่อยเข้าไปมี ส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน ขาดการประสานความร่วมมือกับชุมชนในการเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน โรงเรียนเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมน้อย ขาดการประสานงาน เพื่อขอรับการสนับสนุนจากชุมชนและรายได้ของคนในชุมชนเป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อย รวมทั้งขาดรูปแบบและผู้รับผิดชอบด้านการประชาสัมพันธ์ของโรงเรียน และ (2) แนวทางการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนพบว่า ผู้อำนวยการและครูควรมีความเป็นกันเองกับบุคคล ในชุมชน ควรเป็นผู้นำในการให้บริการชุมชน ควรเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการ วางแผนการดำเนินงาน กำหนดโครงการกิจกรรม ผู้อำนวยการควรเปิดโอกาสให้ครูแสดงความ คิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบของกิจกรรมโรงเรียน และควรนำครูเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน ควรกำหนดหน้าที่รับผิดชอบของครูเกี่ยวกับการให้บริการชุมชนไว้อย่างชัดเจน และการประชาสัมพันธ์ของโรงเรียนควรมีรูปแบบและช่องทางที่ชัดเจน ทั่วถึง และมีความสม่ำเสมอ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5316
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
127749.pdf11.3 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons