Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5348
Title: | การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ |
Other Titles: | The operation of internal quality assurance at basic education level of private schools in Mueang District, Chiang Mai Province |
Authors: | สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์ อัจฉรา มณีรัตน์, 2518 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี ประกันคุณภาพการศึกษา--ไทย--เชียงใหม่ |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (2) เปรียบเทียบการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามขนาดของสถานศึกษากลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร 20 คน หัวหน้างาน 20 คน และครู 295 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 335 คน จากสถานศึกษาเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า มีความเที่ยงเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการศึกษา พบว่า (1) การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเอกชนอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับ ดังนี้ อัตลักษณ์ของสถานศึกษา มาตรการส่งเสริมการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ การจัดการ และคุณภาพผู้เรียน (2) ผลการเปรียบการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเอกชนอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามขนาดในภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายคู่ ด้านคุณภาพผู้เรียน และมาตรการส่งเสริมโรงเรียนขนาดเล็กมีการดำเนินงานแตกต่างกับโรงเรียนขนาดใหญ่และ โรงเรียนใหญ่พิเศษอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านการจัดการและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ โรงเรียนขนาดเล็กมีการดำเนินงานแตกต่างกับโรงเรียนขนาดกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 นอกนั้นไม่แตกต่างกัน. |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5348 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
152867.pdf | 4.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License