กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5352
ชื่อเรื่อง: คุณลักษณะความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราฎร์ธานี เขต 1
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Professional characteristics of school administrators under Surat Thani Primary Educational Service Area Office 1
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: โสภนา สุดสมบูรณ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อัมราภรณ์ เดือนจำรูญ, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้บริหารโรงเรียน--ไทย--สุราษฎร์ธานี
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาคุณลักษณะความเป็นมืออาชีพของ ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 1 และ (2) เปรียบเทียบคุณลักษณะความเป็นมืออาชีพจำแนกตาม เพศ ประสบการณ์ในตำแหน่งผู้บริหาร และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 จำนวน 92 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิตามขนาดสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแบบสอบถามแบบประมาณค่าเกี่ยวกับคุณลักษณะความเป็นมืออาชีพของ ผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.97 สถิติที่ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างรายคู่ โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่ ผลการศึกษาพบว่า (1) คุณลักษณะความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านภาวะผู้นำ ด้านการพัฒนาตนเองเชิงวิชาการ ด้านสังคมและชุมชน ด้านวิสัยทัศน์ ด้านการบริหารจัดการและด้านวิชาการ (2) การเปรียบเทียบคุณลักษณะความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่าผู้บริหารที่มีเพศ แตกต่างกันมีความคิดเห็นโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยผู้บริหารเพศชาย มีความคิดเห็นสูงกว่าผู้บริหารเพศหญิง ผู้บริหารที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งแตกต่างกันมีความคิดเห็น โดยรวมแตกต่างกัน และเมื่อทดสอบรายคู่พบว่า ผู้บริหารที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งต่ำกว่า 5 ปี มีความคิดเห็นแตกต่างจากผู้บริหารที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งตั้งแต่ 11 ปืขื้นไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ0.05 ส่วน ผู้บริหารที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาที่มีขนาดแตกต่างกันโดยภาพรวมมีความคิดเห็น ไม่แตกต่างกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5352
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdf20.79 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons