กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5357
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในตำบลแสนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension of maize production for farmers in Saen Suk Sub-district, Warin Charab District, Ubon Ratchathani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ประมวล บัวกฎ, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ข้าวโพด--ไทย--อุบลราชธานี--การผลิต.
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไป สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ 2) สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 3) ระดับความสำคัญของเหตุผลในการผลิต 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะ การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 5) ความต้องการความรู้และช่องทางการส่งเสริม และ 6) วิเคราะห์แนวทางการส่งเสริม ประชากรเป็นเกษตรกรในตำบลแสนสุขที่ขึ้นทะเบียนปี 2561/62 กับสำนักงานเกษตรอำเภอวารินชำราบ จานวน 114 คน สุมตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงเป็นเกษตรกรที่มีรายชื่อและแปลงปลูกจากระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) จำนวน 72 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 51.33 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีอาชีพหลักในภาคเกษตร รายได้จากภาคเกษตร 125,888.89 บาทต่อปี รายจ่ายภาคเกษตร 37,416.67 บาทต่อปี เป็นหนี้ ธ.ก.ส. มากที่สุด เฉลี่ย 117,000.00 บาทต่อคน ฝึกอบรมกับกรมส่งเสริมการเกษตร ได้รับข่าวสารจากเพื่อนบ้าน และจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมภาครัฐตามลำดับ 2) มีประสบการณ์ในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 8.56 ปี พื้นที่ปลูก 9.43 ไร่ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 600-700 กิโลกรัมต่อไร่ ปลูกระยะ 60x25 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยเคมี 3 ครั้ง คือ ใส่รองพื้นสูตร 15-15-15 จานวน 34.41 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่แต่งหน้าอายุ 30 วัน สูตร 46-0-0 จำนวน 40.44 กิโลกรัมต่อไร่ และใส่อายุ 45 วัน สูตร 46-0-0 ร่วมกับสูตร 21-4-21 จำนวน 49.81 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 1,567.74 กิโลกรัมต่อไร่ ขายกิโลกรัมละ 6.81 บาท รายได้ 10,256.89 บาทต่อไร่ และมีต้นทุน 3,755.70 บาทต่อไร่ 3) เหตุผลสำคัญระดับมากต่อการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ คือ ความสะดวกในการรับซื้อและสนับสนุนปัจจัยการผลิต 4) มีปัญหาระดับมากที่สุด ในด้านปุ๋ยเคมี สารเคมี และเมล็ดพันธุ์ มีราคาแพง เสนอให้มีการรวมกลุ่ม ถ่ายทอดการเพิ่มผลผลิตและจัดหาปัจจัยการผลิต 5) ความรู้ที่เกษตรกรต้องการในระดับมาก คือ การดูแลรักษา เตรียมการเพาะปลูก และการจำหน่ายมีผ่านแผ่นพับ โปสเตอร์ และ สื่อบุคคล 6) แนวทางการส่งเสริม คือนักส่งเสริมที่เป็นสื่อบุคคลในหน่วยงานราชการ และภาคเอกชน ทำหน้าที่นาข้อมูลข่าวสารที่เป็นโครงการของรัฐ การสนับสนุนปัจจัยการผลิต การเข้าถึงแหล่งทุน ความรู้ในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผ่านสื่อบุคคล สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไปสู่เกษตรกร
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5357
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม22.81 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons