Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/537
Title: การประเมินการใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพพุทธศักราช 2545 ของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 1
Other Titles: An evaluation of the B.E. 2545 vocational certificate curriculum implementation in the Central Region one Vocational Education Institute
Authors: สมคิด พรมจุ้ย, อาจารย์ที่ปรึกษา
คมศร วงษ์รักษา, อาจารย์ที่ปรึกษา
อโนทยา เรืองศรี, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา --วิทยานิพนธ์
การประเมินหลักสูตร
การศึกษาทางวิชาชีพ--การประเมิน
Issue Date: 2546
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1)ประเมินความพร้อมในการใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545ของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง1 (2) ประเมินกระบวนการดําเนินการใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 ของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง1 และ (3)ประเมินความพึงพอใจของครู นักเรียน ที่มีต่อการใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 ของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ประกอบด้วยครูปฏิบัติหน้าที่สอน 297 คน นักเรียนชั้น ปวช.1 ปีการศึกษา 2545 จํานวน 573 คน รวม 870 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีความเที่ยงเท่ากับ .95 และ .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) ความพร้อมในการดําเนินการใช้หลักสูตรในภาพรวมครูมีความพร้อมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่ามีความพร้อมด้านบุคลากรในระดับมาก ส่วนด้านงบประมาณ ด้านเอกสารประกอบหลักสูตร ด้านสื่อการสอน และด้านวัสดุอุปกรณ์และสิ่งอํานวยความสะดวกมีความพร้อม อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนนักเรียนในภาพรวมมีความพร้อมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่ามีความพร้อมอยู่ในระดับมาก ยกเว้น ด้านวัสดุอุปกรณ์และสิ่งอํานวยความสะดวกมีความพร้อมอยู่ในระดับปานกลาง (2)กระบวนการดําเนินการใช้หลักสูตรในภาพรวมครูมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่ามีการปฏิบัติด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผลอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการบริหาร จัดการ การใช้สื่อและพัฒนาสื่อ การพัฒนาครูอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนนักเรียนในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่ามีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน และ (3) ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการใช้หลักสูตรในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีความพึงพอใจด้านการพัฒนาครู ด้านการวัดและประเมินผล อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการบริหารจัดการ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการใช้สื่อและพัฒนาสื่อมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนนักเรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกด้าน
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การประเมินการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/537
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
82109.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.05 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons