กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/542
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาตัวแปรที่ใช้ในการทำนายการใช้ฟันปลอมของผู้สูงอายุในจังหวัดตรัง |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อดิศักดิ์ สัตย์ธรรม อาภาพรรณี เขมวุฒิพงษ์, 2512- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สมโภช รติโอฬาร |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ |
วันที่เผยแพร่: | 2546 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อศึกษาตัวแปรที่สามารถทำนายการใช้ฟันปลอมของผู้สูงอายุในจังหวัดตรัง โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ คือ (1) จำแนกตัวแปรที่สัมพันธ์กับการใช้ฟันปลอมของผู้สูงอายุในจังหวัดตรัง และ (2) สร้างสมการถดถอยพหุคูณทำนายการใช้ฟันปลอมของผู้สูงอายุในจังหวัดตรัง การวิจัยเชิงสำรวจนี่ศึกษาโดยการสุ่มผู้สูงอายุในจังหวัดตรังอย่างเป็นระบบจำนวน 417 คน และสัมภาษณ์พร้อมตรวจสภาวะช่องปากตามเครื่องมือที่สร้างขึ้นจากการดัดแปลงพรีชีดโมเดล มีตัวแปรศึกษา 3 กลุ่มตัวแปร คือ กลุ่มตัวแปรนำ 13 ตัวแปรย่อย กลุ่มตัวแปรเอื้อ 17 ตัวแปรย่อย และกลุ่มตัวแปรสนับสนุน 14 ตัวแปรย่อย ซึ่งเครึองมือนี่ผ่านการทดสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญและทดสอบความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธิแอลฟารวมเท่ากับ 0.7023 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเที่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความสัมพันธ์ใช้ สถิติสหสัมพันธ์เพียรสันและไค-สแควร์ และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) ในกลุ่มผู้สูงอายุที่ใช้ฟันปลอมจำนวนร้อยละ 24.2 ของผู้สูงอายุทั้งหมด มีตัวแปรย่อย 14 ตัวที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ฟันปลอมโดยเป็นตัวแปรนำ 6 ตัว ตัวแปรเอื้อ 4 ตัวและตัวแปรสนับสนุน 6 ตัว และ (2) มีตัวแปรย่อยเพียง 2 ตัว ที่สามารถทำนายการใช้ฟันปลอมได้ คือผู้สูงอายุรู้สึกว่ารับประทานอาหารทุกอย่างที่อยากรับประทานเวลาใส่ฟันปลอมและการทำความสะอาดฟันธรรมชาติที่เหลึอและช่องปากภายหลังรับประทานอาหารทุกมื้อ โดยการเข้าสมการถดถอยพหุคูณที่สรัางได้จากตัวแปรย่อยทั้ง 2 ตัว พบว่า ผ้สูงอายุรึสึกว่ารับประทานอาหารทุกอย่างที่อยากรับประทานเวลาใส่ฟันปลอมสามารถอธิบายการใช้ฟันปลอมได้ร้อยละ 15.6 และเพื่อเพิ่มตัวแปรย่อยการทำความสะอาดฟันธรรมชาติที่เหลือและช่องปากภายหลังรับประทานอาหารทุกมื้อในสมการ สามารถอธิบายการใช้ฟันปลอมได้ร้อยละ 19.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/542 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License