กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5432
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการชำระหนี้เงินกู้ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินเมืองพะเยา จำกัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors that affect the ability to repay loans of members of Mueang Payao Land Reform Agricultural Cooperative, Limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษา
อรกัญญา เพียรการ, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การชำระหนี้
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปของสมาชิกสหกรณ์ 2) ระดับความสำคัญ ของปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการชำระหนี้เงินกู้ของสมาชิก 3) ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านต่าง ๆ กับความสามารถในการชำระหนี้เงินกู้ของสมาชิก 4) ระดับความสำคัญของข้อ เสนอแนะในการแก้ไขปัญหาการชำระหนี้เงินกู้ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินเมืองพะเยาว์ จำกัด การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ สมาชิกสหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินเมืองพะเยาว์ จำกัด เฉพาะที่มีหนี้เงินกู้ระยะสั้นกับสหกรณ์ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2558 โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 170 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า 1) สมาชิกสหกรณ์ส่วนใหญ่เพศหญิง อาย ุ51 – 60 ปี และ 60 ปี ขึ้นไป การศึกษระดับประถมศึกษา ส่วนใหญ่สถานภาพสมรส มีสมาชิกในครัวเรือน 2-3 คน ทำนาเป็นอาชีพหลักและการรับจ้างทั้วไป มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพื้นที่ทำการเกษตรน้อยกว่า หรือเท่ากับ 10 ไร่ ในระหว่างปีกู้เงินระยะสั้นกับสหกรณ์สูงสุดจำนวน 40,001 - 50,000 บาท และส่วนใหญ่ใช้หลักทรัพยค้ำประกัน เงินกู้ชำระหนี้เงินกู้ได้ตามกำหนดเวลาร้อยละ 59.40 ชำระไม่ได้ตามกำหนดเวลาร้อยละ 40.60 มีหนั้เงินกู้ค้างชำระมากที่สุดจำนวน 40,001 - 50,000 บาท รายได้จากภาคการเกษตรมากที่สุดจำนวน 50,001 -100,000 บาท/ปี รายได้จากนอกภาคการเกษตรน้อยกว่าหรือเท่ากับ 50,000 บาท/ปี รายจ่ายจากภาคการเกษตรน้อยกว่าหรือเท่ากับ 50,000 บาท/ปี รายจ่ายจากนอกภาคการเกษตร สูงกว่า 150,000 บาท มีหนี้เงินกู้กับกองทุนหมู่บ้านมากที่สุด จํา นวน 20,001 - 40,000 บาท 2) ระดับ ความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการชำระหนี้เงินกู้ของสมาชิกสหกรณ์โดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ปัจจัยด้านการปฏิบัติงานของสหกรณ์ ด้านการผลิต ด้านภัยธรรมชาติ และด้านการตลาด แต่ปัจจัยด้านนโยบายรัฐบาลอยู่ในระดับปานกลาง 3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ ความสามารถในการชำระหนี้เงินกู้ของสมาชิกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลของสมาชิก คือ จำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่ประกอบอาชีพได้ ปัจจัยความสามารถในการชำระหนี้เงินกู้ของสมาชิก คือ จำนวนหนั้เงินกู้ในปัจจุบัน ปัจจัยด้านเศรษฐกิจทุกปัจจัย ยกเว้น รายจ่ายนอกภาคการเกษตร ปัจจัยด้านการผลิตทุกปัจจัย ยกเว้นด้านต้นทุนการผลิตสูงและที่ดินทำการเกษตรไม่เหมาะสม ปัจจัยด้านการตลาดทุกปัจจีย ยกเว้นด้านราคาผลผลิตตกต่ำ ปัจจัยด้านภัยธรรมชาติทุกปัจจัย ยกเว้นเกิดฝนแล้ง ปัจจัยด้านการปฏิบัติงานของสหกรณ์ทุกปัจจัย ยกเว้นการให้ความสะดวกขณะติดต่อชำระหนี้และนโยบายของรัฐบาลทุกปัจจัย 4) ระดับความสำคัญของข้อเสนอแนะที่มีผลต่อความสามารถในการชำระหนี้เงินกู้ของสมาชิกสหกรณ์โดยรวมอยู่ในระดับมาก ที่มากที่สุด คือ การนำเงินกู้ไปใช้ให้ตรงตามวัตถุประสงค์์สหกรณ์ควรขยายวงเงินกู้และควรลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามลำดับ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5432
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT_151033.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.45 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons