กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5470
ชื่อเรื่อง: บทบาทสหกรณ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรธารโต จำกัด จังหวัดยะลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Role of cooperatives in economic and social development by members of Thanto Agricultural Cooperatives Limited, Yala Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ส่งเสริม หอมกลิ่น
เสริมศิลป์ แก้วมณี, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์การเกษตรธารโต--สมาชิก
การพัฒนาเศรษฐกิจ
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปของสมาชิก 2) บทบาทของสหกรณ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิก 3) ความสัมพันธ์ของสภาพทั่วไปของสมาชิกกับ บทบาทสหกรณ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิก 4) เปรียบเทียบความแตกต่างของสภาพทั่วไปของสมาชิกกับบทบาทสหกรณ์ ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิก 5) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะของสหกรณ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรธารโต จำกัด จังหวัดยะลา ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ สมาชิกของสหกรณ์การเกษตรธารโต จำกดั ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2559 จำนวน 1,079 กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของยามาเน่ได้ตัวอย่าง จำนวน 100 คน สุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่า เฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบไคสแควร์ t-test และ f-test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) สมาชิกสหกรณ์ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 51 - 55 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น อาชีพทำสวนยาง รายได้ต่อเดือน 8,001 - 10,000 บาท และระยะเวลาการเป็นสมาชิก 6 - 10 ปี 2) บทบาทสหกรณ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกโดยรวมอยใู่นระดับมาก การพัฒนาเศรษฐกิจ ได้แก่ การออม รายได้ รายจ่าย และการลงทุน ตามลำ ดับ การพัฒนาสังคม ได้แก่ การให้ความร่วมมือกับสมาชิกและชุมชน การให้การศึกษา อบรม ข้อมูลข่าวสาร และจัดสวัสดิการ ตามลำดับ 3) ปัจจัยสภาพทั่วไปของสมาชิกมีความสัมพันธ์กับ บทบาทของสหกรณ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยพบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ และระยะเวลาการเป็นสมาชิก มีความสัม พันธ์กับ บทบาทการพัฒนาเศรษฐกิจ ด้านการลงทุน การออม รายจ่าย และรายได้ของสมาชิกเพียงบางปัจจัย เพศ อายุุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และระยะเวลาการเป็นสมาชิกมีความสัมพันธ์กับ บทบาทการพัฒนาสังคม ด้านการให้ความร่วมมือกับ สมาชิกและชุมชน การจัดสวัสดิการ และการศึกษา อบรม ข้อมูลข่าวสาร เกือบทุกปัจจัย 4) เปรียบเทียบความแตกต่างของสภาพทั่วไปของสมาชิกกับ บทบาทสหกรณ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมพบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พบว่า สมาชิกที่มีอายุ ระดับการศึกษา และรายได้แตกต่างกัน เห็นว่าสหกรณ์มีบทบาทการพัฒนาเศรษฐกิจ ด้านรายจ่าย การออม รายได้ และการลงทุนของสมาชิก แตกต่างกันเกือบทุกปัจจัย สมาชิกที่มีอายุ ระดับการศึกษา รายได้ และระยะเวลาการเป็นสมาชิกแตกต่างกัน เห็นว่า สหกรณ์มีบทบาทการพัฒนาสังคม ด้านการจัดสวัสดิการการศึกษา อบรม ข้อมูลข่าวสาร และการให้ความร่วมมือกับ สมาชิกและชุมชน แตกต่างกัน เพียงบางปัจจัย 5) ปัญหาอุปสรรค คือสหกรณ์มีคู่แข่งทางการค้า และสมาชิกผิดนัดชำระหนี้ และข้อเสนอแนะ คือ ส่งเสริมให้สมาชิกมีอาชีพเสริมในครัวเรือน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5470
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT_154967.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons