กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5472
ชื่อเรื่อง: การบริหารจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐและชุมชน : กรณีศึกษาเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Garbage management via participation between the public sector and the communities : a case study of Samed Island, Rayong Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กฤษฎา ประศาสน์วุฒิ
รุ่งอรุณ คมหมู่
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ปภาวดี มนตรีวัต
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์
การจัดการของเสีย--การมีส่วนร่วมของประชาชน
การกำจัดขยะ--การมีส่วนร่วมของประชาชน
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนบนเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง (2) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยระหว่างภาครัฐและชุมชนบนเกาะเสม็ดจังหวัดระยอง และ (3) ศึกษาแนวทางในการสร้างการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยบนเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือ เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐและผู้อยู่อาศัยบนเกาะเสม็ด กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ 14 คน และผู้อยู่อาศัยบนเกาะเสม็ด 370 คน รวม 384 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม และการประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) สิ่งที่เป็นปัญหามากที่สุดจากขยะมูลฝอยบนเกาะเสม็ด ได้แก่ ปัญหาด้านกลิ่น (2) เจ้าหน้าที่ของรัฐและชาวชุมชนต่างเห็นด้วยในระดับค่อนข้างมากกับการสรัางการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐและชุมชนในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยบนเกาะเสม็ด (3) แนวทางในการสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐและชุมชน ได้แก่ การจัดตั้งคณะกรรมการขยะมูลฝอยในลักษณะไตรภาคี ประกอบด้วยผู้แทนจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อุทยานแห่งชาติและชุมชนบนเกาะเสม็ด การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการขยะมูลฝอย และการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการกำจัดขยะมูลฝอยร่วมกันทุกเดึอน เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ในลักษณะการประสานการใช้อำนาจหน้าที่ทุกระดับ โดยมุ่งเน้นให้เกิดความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ นอกจากนั้น ควรมีการปรับปรุงกลไกการบังคับใช้กฎระเบียบต่าง ๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับความด้องการของทุกฝ่าย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดร่วมกัน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5472
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
107691.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.44 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons