กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5479
ชื่อเรื่อง: การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบำรุงรักษาทางหลวงชนบท ของสำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดสตูล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: People's participation in the rural roads maintenance of the Satun Province Roads Office
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รังสรรค์ ประเสริฐศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมศักดิ์ สามัคคีธรรม, อาจารย์ที่ปรึกษา
กัมพล เชื้อหมอเฒ่า
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์
ทางหลวงชนบท--การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม--การมีส่วนร่วมของประชาชน
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเรื่อง การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบำรุงรักษา ทางหลวงชนบทของสำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดสตูลโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับ การมีส่วนร่วมของประชาชน (2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน และ (3) ศึกษาถึงปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไข และข้อเสนอแนะ ต่อการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการบำรุงรักษาทางหลวงชนบท การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยตัวแปรต้นที่ใช้ในการศึกษา เป็นประชาชนใน จังหวัดสตูล จำนวน 377 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบนสอบถาม แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิจัย โดยใช้การแจกแจงความถี่ร้อยละ ใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบแบบค่าที และการทดสอบแบบค่าเอฟ โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า (1) ประชาชนมีส่วนต่อการบำรุงรักษาทางหลวงชนบทของสำนักงาน ทางหลวงชนบทจังหวัดสตูล โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วม ได้แก่ เพศ อาชีพหลัก การรับรู้ข่าวสารและการประชาสัมพันธ์ ความรู้ความเข้าใจและการติดต่อ สัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่ ส่วนปัจจัยที่ไม่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วม ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ จากการประกอบอาชีพและระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพึ้นที่ (3) ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ เห็นว่า หน่วยงานของรัฐควรที่จะเปิดโอกาสหรือส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในด้านต่างๆ ตั้งแต่ ขั้นตอนของการร่วมคิด ตัดสินใจ และวางแผนในกิจกรรมที่จะดำเนินการเพื่อเป็นการรับฟังความ คิดเห็นของประชาชนเจ้าของพื้นที่ ตลอดจนขั้นตอนในการร่วมปฏิบัติการร่วมรับประโยชน์หรือ ร่วมประเมินผลในการดำเนินงาน ควรเน้นถึงการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร การชี้แจงรายละเอียด โครงการ การส่งเสริมความรู้ สร้างความเข้าใจ หรือการฝึกอบรม เพื่อให้ประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมด้วยความเต็มใจ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5479
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
107696.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.71 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons