กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5501
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกสถานพยาบาลหลัก : กรณีศึกษาผู้ประกันตนในจังหวัดนนทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Behavior and factors affecting the choice decision of main contracted hospital : a case study of insured persons in Nonthaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธนชัย ยมจินดา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ประเสริฐ สุทธิประสิทธิ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณรงค์ศักดิ์ ธนวิบูลย์ชัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
อดิทัต ประเสริฐสุข
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --วิทยานิพนธ์
ประกันสังคม--ไทย--นนทบุรี
สถานพยาบาล
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่อง “พฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกสถานพยาบาลหลัก : กรณศึกษา ผู้ประกันตนในจังหวัดนนทบุรี” มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกสถานพยาบาล หลักของผู้ประกันตนในจังหวัดนนทบุรี (2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการสถานพยาบาลหลักของผู้ประกันตนใน จังหวัดนนทบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรในการศึกษา คีอ ผู้ประกันตนในจังหวัดนนทบุรี ไต้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 400 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างตามอัตราส่วนของผู้ประกันตนใน 6 อำเภอ ของจังหวัดนนทบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีความเชื่อถือได้เท่ากับ 0.959 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และ การทดสอบค่าเอฟ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายและหญิงจำนวนเท่ากัน กลุ่มตัวอย่างที่มากที่สุดมีอายุ ตั้งแต่ 2030 ปี (ร้อยละ 365) ระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย'1เทียบเท่าร้อยละ 45.2) สถานภาพสมรส(ร้อยละ 515) อาชีพ (ลักษณะงาน) ทำงานเป็นพนักงานทั่วไป (ร้อยละ 74.0) ระดับรายได้ 10,001-15,000 บาท (ร้อยละ 45.2) โดยทั่วไปผู้ประกันตนให้ความสำคัญต่อปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกสถานพยาบาลหลัก ด้วย ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในระดับปานกลาง (x 3.37) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผู้ประกันตนให้ ความสำคัญต่อปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ ปัจจัยด้านผลิตกัณฑ์และ ปัจจัยด้านบุคลากรอยู่ในระคับมาก (x = 3.83 3.82 และ 3.71 ตามลำดับ) ส่วนปัจจัยที่ผู้ประกันตนให้ความสำคัญนัอยที่สุดได้แก่ ปัจจัยด้านการส่งเสริม การตลาดมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (x =2.34) นอกจากนี้พบว่า ผู้ประกันตนที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส อาชีพ และระดับรายได้ที่แตกต่างกัน จะมีค่าเฉลี่ยของปัจจัยด้านส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจ เลือกสถานพยาบาลหลักแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ผู้ประกันตนเลือกใช้บริการสถานพยาบาลของภาครัฐ และภาคเอกชนจำนวนเท่ากัน ส่วนใหญ่ไม่ เปลี่ยนสถานพยาบาลหลักจากเดิม(ร้อยละ 99.2) ตัดสินใจเลือกสถานพยาบาลหลักด้วยตนเอง (ร้อยละ 70.8) เมื่อ เจ็บป่วยการปฏิบัติตัวอันดับแรกคือ ใช้บริการโรงพยาบาลที่เลือกเป็นสถานพยาบาลหลัก(ร้อยละ 42.5) ในช่วง เวลา 1 มกราคม-31 ธันวาคม 2550 ผู้ประกันตนส่วนใหญ่เคยใช้บริการสถานพยาบาลหลักโดยใช้บริการจำนวน 1-5 ครั้ง (ร้อยละ 62.0) เวลาเดินทางจากบ้าน/ที่ทำงานไปยังสถานพยาบาลหลักใช้ระยะเวลา 30 นาที -1 ชั่วโมง (ร้อยละ 73.0) ไปใช้บริการในช่วงเวลา 8.01 น. - 16.00 น.(ร้อยละ 66.0) โดยไปใช้บริการคนเดียว (ร้อยละ 44.0) และใช้เวลาอยู่ในสถานพยาบาลหลักในการใช้บริการแต่ละครั้ง 30 นาที - 1 ชั่วโมง (ร้อยละ 51.2)
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5501
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
107698.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.54 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons