กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5532
ชื่อเรื่อง: ความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อระบบการฝึกอบรม เรื่อง การพัฒนาชิ้นส่วนยานยนต์และกระบวนการงานใหม่ในกลุ่มบริษัท มารูอิ ซัม (ไทยแลนด์) จำกัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The satisfaction with the training system on development of automotive parts and the new work process of the personnel of Marui Sum (Thailand) Company Limited Group
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วาสนา ทวีกุลทรัพย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
แก้ววิหาร เขาแก้ว, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
พนักงานบริษัท--การฝึกอบรมในงาน
ความพอใจ
การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อระบบการฝึกอบรมเรื่อง การพัฒนาชิ้นส่วนยานยนต์และกระบวนการงานใหม่ในกลุ่มบริษัท มารูอิ ซัม (ไทยแลนด์) จำกัด กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ บุคลากรในกลุ่มบริษัท มารูอิ ซัม (ไทยแลนด์) จำกัด ที่เป็นผู้รับการฝึกอบรม จำนวน 265 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบ ถามความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อระบบการฝึกอบรมสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏว่า ผู้รับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจต่อระบบการฝึกอบรมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากสำหรับทุกขั้นตอนของระบบการฝึกอบรม โดยมีขั้นตอนย่อยของระบบการฝึกอบรมในแต่ละขั้นตอนหลักที่ได้รับค่าเฉลี่ย การประเมินสูงสุดดังนี้ (1) การกำหนดวัตถุประสงค์การฝึกอบรมเพื่อให้เกิดทักษะในการพัฒนางาน (2) การกำหนดหลักสูตรการฝึกอบรมควรมีเรื่องกระบวนการผลิตชิ้นงาน (3) การกำหนดคุณสมบัติของบุคลากรที่รับการฝึกอบรมเน้นทักษะและสมรรถนะที่ใช้ในการปฏิบัติงานได้ และเป็นผู้ที่ต้องการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ (4) การกำหนดสภาพแวดล้อมด้านกายภาพ ของการฝึกอบรมควรกำหนดให้มีเครื่องมือ และอุปกรณ์ในการฝึกอบรมให้พร้อมใช้งาน ส่วนการกำหนดสภาพแวดล้อมด้าน จิตภาพ ควรมีวิทยากรที่เป็นกันเองกับผู้รับการฝึกอบรม และการกำหนดสภาพแวดล้อมด้านสังคม ควรมีการให้ผู้เข้ารับการ ฝึกอบรมมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เข้ารับการฝึกอบรม (5) การกำหนดการดำเนินการอบรมนั้น สำหรับวิธีการฝึกอบรมควรเน้นการลงมือปฏิบัติ สำหรับรูปแบบการฝึกอบรมควรเน้นการฝึกอบรมโดยมีวิทยากรเป็นศูนย์กลางโดยมีสื่อการฝึกอบรมที่ขาดไม่ได้คือแบบฝึกปฏิบัติ สำหรับกิจกรรมการฝึกอบรมควรเน้นให้ผู้อบรมลงมือทำ และ (6) การกำหนดการประเมินผลการฝึกอบรมควรมีการสังเกตพฤติกรรม ส่วนผลลัพธ์ด้านความรู้ในการอบรม ควรให้ผู้รับการอบรมสามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานของตนเองได้มากขึ้น ส่วนผลลัพธ์ด้านทักษะควรให้ผู้รับการอบรมสามารถปฏิบัติงานนั้นได้ถูกต้อง และผลลัพธ์ด้านทัศนคติ ควรให้ผู้รับการฝึกอบรมได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการปฏิบัติงานในทางที่ดีขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5532
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
161404.pdf10.99 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons