Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5538
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สัจจา บรรจงศิริ | th_TH |
dc.contributor.author | ธนัย บุญมาธิวัฒน์, 2519- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-04-07T03:59:34Z | - |
dc.date.available | 2023-04-07T03:59:34Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5538 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำบ้านเมืองจังเหนือ 2) กระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของกลุ่มเกษตรกรบ้านเมืองจังเหนือ และ 3) ปัจจัยความสำเร็จในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อการเกษตรของกลุ่มเกษตรกรบ้านเมืองจังเหนือการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม โดยเก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมดที่เป็นเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกรบ้านเมืองจังเหนือ จำนวน 76 ราย โดยการใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบบันทึกการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ข้อ มูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และพิสัย และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุมากกว่า 60 ปี มีสมาชิกในครัวเรือน 3-4 คน พื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ยครัวเรือนละ 7.85 ไร่ ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น เป็นหลักใช้น้ำจากแหล่งน้ำ ธรรมชาติและอาศัยน้ำฝนในการผลิตแต่ไม่เพียงพอ มีการเพิ่มปริมาณน้ำ ด้วยการสร้างแหล่งน้า ในไร่นา แหล่งน้ำสาธารณะ และระบบท่อส่งน้ำแบบประปาภูเขาด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน “กาลักน้ำ” จากอ่างเก็บน้ำห้วยผึ้ง เพื่อบรรเทาปัญหา 2) กระบวนการบริหารจัดการน้ำของกลุ่มเกษตรกรเป็นแบบมีส่วนร่วม มีการดำเนินการโดยมีประธานและคณะกรรมการกลุ่ม มีการจัดทำแผนพัฒนากลุ่ม มีโครงสร้างกลุ่มจากการคัดเลือกคณะกรรมการเป็นผู้แทน การนำองค์กรจากประธานกลุ่มที่มีภาวะผู้นำสูง จัดแบ่งภารกิจงานตามความถนัด และมีการควบคุมด้วยกฎ กติกา ระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่มที่ร่วมกัน กำหนดอย่างเหมาะสม 3) ปัจจัยความสำเร็จในการบริหารจัดการน้ำของกลุ่ม คือ การมีเป้าหมายร่วมกัน เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ ใช้ทางการเกษตร มีความสมัครใจ มีส่วนร่วม มีผู้นำที่ดี มีการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาคี และมีน้ำต้นทุนจากอ่างเก็บน้ำห้วยผึ้งเป็นทุนเดิม | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | น้ำ--การจัดการ | th_TH |
dc.subject | น้ำในการเกษตร | th_TH |
dc.subject | ทรัพยากรทางน้ำ--การจัดการ | th_TH |
dc.subject | การศึกษาอิสระ--การจัดการการเกษตร | th_TH |
dc.title | การจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตรของกลุ่มเกษตรกรบ้านเมืองจังเหนือ ตำบลเมืองจัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน | th_TH |
dc.title.alternative | Water resources management for agriculture of farmer group in Ban Mueang Chang Nuea, Mueang Chang Sub-district, Phu Phiang District, Nan Province. | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการทรัพยากรเกษตร) | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were to study 1) the basic information of farmer groups, 2) the water resource management of farmer groups, and 3) success factors of water resources management for agriculture of farmer groups in Ban Mueang Chang Nuea, Mueang Chang Sub-district, Phu Phiang District, Nan Province The research was a mixed method. The data were collected from the farmer with the population size of 76 persons. The data collected tools were questionnaires and focus group recording form. The quantitative data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation and range. The qualitative data were analyzed by content analysis.The results indicated that 1) most farmers were male, with the age over 60 years old. The number of the household member was 3-4 persons. The average agricultural farmland of household was 7.85 Rai (1 Rai=1,600 m2), with fruit and a perennial plant. The water used in farmland came from natural water resource and rainfall. There was insufficient water for production. Then, they increased water resource by building farm water reservoirs using public water resource, and building pipe water system “siphon” from Huay Phueng reservoir to solve the problems. 2) The water resource management of farmer group were the participatory management process through the chairman and the group committee. There was a group development plan. There was a group structure from the selection of the committee as a representative. The leaders of the organization with a high-leadership. The group’s mission was organized by member skill and controlled by appropriate group rules and regulations. 3) The success factors of the group's water management were to have a common goal to solve the problem of water shortage in agriculture, voluntary, participation, to have a good leader, learning by doing, supported by partner rganizations, and to have water capital from the Huay Phueng reservoir. | en_US |
Appears in Collections: | Agri-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT_159158.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 29.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License