Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5538
Title: | การจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตรของกลุ่มเกษตรกรบ้านเมืองจังเหนือ ตำบลเมืองจัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน |
Other Titles: | Water resources management for agriculture of farmer group in Ban Mueang Chang Nuea, Mueang Chang Sub-district, Phu Phiang District, Nan Province. |
Authors: | สัจจา บรรจงศิริ ธนัย บุญมาธิวัฒน์, 2519- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร--การศึกษาเฉพาะกรณี น้ำ--การจัดการ น้ำในการเกษตร ทรัพยากรทางน้ำ--การจัดการ การศึกษาอิสระ--การจัดการการเกษตร |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำบ้านเมืองจังเหนือ 2) กระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของกลุ่มเกษตรกรบ้านเมืองจังเหนือ และ 3) ปัจจัยความสำเร็จในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อการเกษตรของกลุ่มเกษตรกรบ้านเมืองจังเหนือการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม โดยเก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมดที่เป็นเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกรบ้านเมืองจังเหนือ จำนวน 76 ราย โดยการใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบบันทึกการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ข้อ มูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และพิสัย และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุมากกว่า 60 ปี มีสมาชิกในครัวเรือน 3-4 คน พื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ยครัวเรือนละ 7.85 ไร่ ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น เป็นหลักใช้น้ำจากแหล่งน้ำ ธรรมชาติและอาศัยน้ำฝนในการผลิตแต่ไม่เพียงพอ มีการเพิ่มปริมาณน้ำ ด้วยการสร้างแหล่งน้า ในไร่นา แหล่งน้ำสาธารณะ และระบบท่อส่งน้ำแบบประปาภูเขาด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน “กาลักน้ำ” จากอ่างเก็บน้ำห้วยผึ้ง เพื่อบรรเทาปัญหา 2) กระบวนการบริหารจัดการน้ำของกลุ่มเกษตรกรเป็นแบบมีส่วนร่วม มีการดำเนินการโดยมีประธานและคณะกรรมการกลุ่ม มีการจัดทำแผนพัฒนากลุ่ม มีโครงสร้างกลุ่มจากการคัดเลือกคณะกรรมการเป็นผู้แทน การนำองค์กรจากประธานกลุ่มที่มีภาวะผู้นำสูง จัดแบ่งภารกิจงานตามความถนัด และมีการควบคุมด้วยกฎ กติกา ระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่มที่ร่วมกัน กำหนดอย่างเหมาะสม 3) ปัจจัยความสำเร็จในการบริหารจัดการน้ำของกลุ่ม คือ การมีเป้าหมายร่วมกัน เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ ใช้ทางการเกษตร มีความสมัครใจ มีส่วนร่วม มีผู้นำที่ดี มีการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาคี และมีน้ำต้นทุนจากอ่างเก็บน้ำห้วยผึ้งเป็นทุนเดิม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5538 |
Appears in Collections: | Agri-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT_159158.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 29.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License