Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/556
Title: การพัฒนาแบบวัดความเข้มแข็งทางใจของพยาบาลวิชาชีพ
Other Titles: The development of resilience scale for professional nurses
Authors: ศรีนวล สถิตวิทยานันท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พิชา คนกาญจน์, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --วิทยานิพนธ์
พยาบาล--ความเครียดในการทำงาน
ความสามารถในการปรับตัว (จิตวิทยา)--การทดสอบ
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา เพื่อพัฒนาแบบวัดความเข้มแข็งทางใจของพยาบาลวิชาชีพด้วย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และทดสอบคุณภาพแบบวัดความเข้มแข็งทางใจของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงาน ในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่มีขนาด 500 เตียงขึ้นไป จำนวน 12 แห่ง กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 308 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความเข้มแข็งทางใจที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นจำนวนทั้งหมด 45 ข้อ ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน และหาค่าความเที่ยงด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าเท่ากับ .96 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคมถึงกรกฎาคม 2559 ได้แบบวัดกลับคืนมาทั้งสิ้น 304 ชุด (ร้อยละ 98.7) ดำเนินการวิเคราะห์ ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์องค์ประกอบหลักเชิงยืนยันอันดับที่สอง โดยใช้โปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการพัฒนาแบบวัดความเข้มแข็งทางใจของพยาบาลวิชาชีพด้วยการวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ดังนี้ (1.1) ความมุ่งมันในชีวิต มี 3 องค์ประกอบย่อย ประกอบด้วย ความเพียรพยายามให้บรรลุจุดหมาย (LTC1) การยืนหยัดไม่ยอมแพ้อุปสรรค (LTC2) และการมีมุมมอง ที่ดีต่อตนเองและยอมรับในสิ่งที่ตนเองเป็ น (LTC3) (1.2) การมองโลกในแง่ดี มี 5 องค์ประกอบย่อย ประกอบด้วย การำหนดเป้าหมายในชีวิต (OPT1) ความสามารถในการวางแผนและการกระทำให้บรรลุเป้าหมาย (OPT2) ความ ภาคภูมิใจในตนเอง (OPT3) การให้ความรักและเมตตาต่อบุคคลอื่น (OPT4) และความสามารถในการแยกแยะสิ่งถูกผิด (OPT5) (1.3) ความอดทนในการเผชิญกบภาวะกดดัน มี 3 องค์ประกอบย่อย ประกอบด้วย ความทนทานต่อสภาวะกดดัน (STO1) การแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหา (STO2) และความสามารถในการรอคอย (STO3) (1.4) การ แก้ไขสถำนการณ์ปัญหา ความเครียด หรือสิ่งท้าทายและกล้าเสี่ยง มี 3 องค์ประกอบย่อย องค์ประกอบ ประกอบด้วย ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ (SRE1) การมีความหวังและกำลังใจ (SRE2) และความกล้าที่จะขอความช่วยเหลือ (SRE3) (1.5) การแสดงความรับผิดชอบ มี 3 องค์ประกอบย่อย ประกอบด้วย ความสามารถในการรู้เท่าทันอารมณ์การควบคุมและแสดงออกอย่างเหมาะสม (RES1) การยอมรับข้อผิดพลาดที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (RES2) และการจัดการกับความรู้สึกและแรงกระตุ้น และสร้างอารมณ์ขันให้กับตนเอง (RES3) และ (2) ผลการทดสอบคุณภาพของแบบวัดความเข้มแข็งทางใจ พบว่า โมเดลความเข้มแข็งทางใจมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์พิจารณาจากค่าสถิติไค-สแควร์ขององค์ประกอบหลักทุกตัวที่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าดัชนี GFI อยู่ระหว่าง 0.99 - 1.00 ค่า AGFI อยู่ระหว่าง 0.94 - 0.99 ค่า RMSEA อยู่ระหว่าง 0.00 - 0.06 และค่า Standardized RMR อยู่ระหว่าง 0.00 - 0.04
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/556
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext 151552.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.31 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons