กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/557
ชื่อเรื่อง: สิทธิของพระภิกษุทางกฎหมายอาญา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Monks' rights under criminal law
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริศักดิ์ ศุภมนตรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
วราภรณ์ วนาพิทักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พระมหารมย์ แตงทรัพย์, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชากฎหมายมหาชน -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์.
ภิกษุ
กฎหมายอาญา
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ได้กล่าวถึงสถานะอันเป็นที่มาของสิทธิแห่งพระภิกษุในทางกฎหมายอาญา เนื่องจากว่าพระภิกษุนั้นก็เป็นพลเมืองผู้หนึ่งในประเทศแต่ว่าสิทธิของพระภิกษุในทางกฎหมายอาญานั้น ยังมีความไม่ชัดเจนพอในกระบวนการดำเนินการเกี่ยวกับพระภิกษุผู้กระทำความผิดทางกฎหมายอาญาทําให้เกิดปัญหาว่าพระภิกษุนั้นมีสิทธิอย่างไรในทางกฎหมายดังกล่าว ดังนั้นจึงได้ทําการวิจัยเรื่องสิทธิของ พระภิกษุทางกฎหมายอาญา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะวิเคราะห์ให้ทราบถึงสิทธิของพระภิกษุในทางกฎหมายอาญา และเพี่อเสนอแนะข้อควรปรับปรุงพระราชบญญัติคณะสงฆ์เพิ่มเติม เพื่อให้สิทธิของพระภิกษุในทางกฎหมายอาญามีความชดเจนยิ่งข้ึน และช่วยลดปัญหาที่อาจเกิดจากความไม่ชัดเจนของ สิทธิของพระภิกษุในทางกฎหมาย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมาย โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาและวิเคราะห์ เกี่ยวกับการดำเนินการกับพระภิกษุที่กระทาผิดกฎหมายทางอาญาอันประกอบไปด้วยการจับกุม การสอบสวน การฟ้องร้อง การพิจารณาพิพากษาคดี การบงคับโทษ ตามพระราชบญญัติคณะสงฆ์ประมวลกฎหมาย อาญา หนังสือต่างๆ งานนิพนธ์ทั่วๆ ไป และเอกสารงานวิจัยต่างๆ และจากการสัมภาษณ์ผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับสิทธิของพระภิกษุในทางกฎหมายอาญาว่ามีสิทธิอย่างไรในทางกฎหมายอาญา ผลจากการวิจัยเรื่องสิทธิของพระภิกษุทางกฎหมายอาญานี้ ไม่ปรากฏชัดเจนว่ามีสิทธิพิเศษ หรือมีการบัญญัติสิทธิต่างๆ ไว้เป็นระบบแต่อย่างใด เพียงปรากฏอยู่ในกระบวนการทางอาญาบางขั้นตอนเท่านั้น เช่นการจับกุมการสอบสวนการฟ้องร้องการพิจารณาพิพากษาคดีและการบังคับโทษที่ต้องดำเนินการด้วยความอ่อนโยนเท่านั้น ซึ่งต่างจากการรองรับสิทธิของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่ต้องผ่านการพิจารณาทางสงฆ์ก่อนที่จะมาสู่สิทธิทางอาญาจึงทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติในหลายๆ ขั้นตอน เมื่อได้ศึกษารายละเอียดแล้ว น่าจะมีการบัญญัติสิทธิทางอาญาของพระภิกษุให้เป็นที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการ จับสึก การเบิกความ การเป็นจำเลย จัดให้มีสถานที่พิเศษสําหรับพระภิกษุผู้อยู่ในระหว่างการดำเนินคดีอาญากระบวนการพิจารณาคดี และการจัดตั้งศาลสงฆ์ ซึ่งจะนำมาซึ่งความชัดเจนของสิทธิทางอาญา ของพระภิกษุในประเทศไทยอันจะเป็นการขจัดความไม่ชัดเจนและความยุ่งยากต่อทางปฏิบัติที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/557
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib133894.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.16 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons