Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/558
Title: | ผลของชุดกิจกรรมแนะแนวอาชีพที่มึต่อเจตคติในการประกอบอาชีพอิสระ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนการเคหะท่าทราย สังกัดกรุงเทพมหานคร |
Authors: | สมร ทองด, อาจารย์ที่ปรึกษา ปรีชา วิหคโต , อาจารย์ที่ปรึกษา พันธณีย์ วิหคโต, อาจารย์ที่ปรึกษา อุษณีย์ วิสิทธิ์, 2507- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนว --วิทยานิพนธ์ การแนะแนวอาชีพ การแนะแนว--เครื่องมือ อาชีพอิสระ นักเรียนมัธยมศึกษา--การแนะแนวอาชีพ |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบเจตคติในการประกอบอาชีพอิสระ ของนักเรียนกลุ่มทดลองระหว่างก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวอาชีพ (2)เปรียบเทียบ เจตคติในการประกอบอาชีพอิสระของนักเรียนกลุ่มควบคุมระหว่างก่อนและหลังการใช้แผนการจัด กิจกรรมแนะแนวปกติ (3) เปรียบเทียบเจตคติในการประกอบอาชีพอิสระของนักเรียนระหว่าง กลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมก่อนและหลังการทดลอง และ (4) สํารวจความคิดเห็นของนักเรียน กลุ่มทดลองที่มีต่อชุดกิจกรรมแนะแนวอาชีพกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จํานวน 60 คน โรงเรียนการเคหะท่าทราย สังกัดกรุงเทพมหานครแบ่งเป็นกลุ่มทดลองจํานวน 30 คน และกลุ่มควบคุม จํานวน 30 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ผู้วิจัยใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวอาชีพกับกลุ่มทดลอง ส่วนกลุ่มควบคุมใช้แผน การจัดกิจกรรมแนะแนวปกติเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1)ชุดกิจกรรมแนะแนวอาชีพ (2)แผนการจัดกิจกรรมแนะแนวปกติ (3) แบบวัดเจตคติในการประกอบอาชีพอิสระ (4) แบบสํารวจ ความคิดเห็นที่มีต่อชุดกิจกรรมแนะแนวอาชีพ และ (5)แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับอาชีพอิสระ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1)เจตคติในการประกอบอาชีพอิสระของนักเรียนกลุ่มทดลอง หลังใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวอาชีพสูงกว่าก่อนใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวอาชีพ อย่างมีนัยสําคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 (2)เจตคติในการประกอบอาชีพอิสระของนักเรียนกลุ่มควบคุมหลังใช้แผนการจัด กิจกรรมแนะแนวปกติสูงกว่าก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมแนะแนวปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (3)เจตคติในการประกอบอาชีพอิสระของนักเรียนกลุ่มทดลองและนักเรียนกลุ่มควบคุม ก่อนการทดลองไม่แตกต่างกัน แต่หลังการทดลองนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (4)นักเรียนกลุ่มทดลองมีความคิดเห็นต่อชุดกิจกรรม แนะแนวอาชีพในระดับมาก |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนว))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/558 |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License