Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5593
Title: ความต้องการศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก
Other Titles: The needs for an Educational Technology Center of Sirindhorn College of Public health in Phitsanulok Province
Authors: จริล แก้วดวงเล็ก, 2516-
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก
ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา
การศึกษาอิสระ--ศึกษาศาสตร์
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของผู้บริหาร อาจารย์และนักศึกษาเกี่ยวกับศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา สำหรับวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก ประชากรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 22 คน อาจารย์ จำนวน 47 คน และนักศึกษา จำนวน 540 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบ สอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยในด้าน การจัดหน่วยงานของศูนย์ฯ อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาความต้องการรายด้าน ทั้ง 8 ด้าน พบว่า (1) ด้านการดำเนินงานของศูนย์ฯ ควรมีองค์ประกอบด้านนโยบาย ที่สนับสนุนให้มีจัดตั้งศูนย์ฯ มีการกำหนดปรัชญาคือ บริการดี มีมาตรฐาน ก้าวทันเทคโนโลยี ปณิธานคือ มุ่งศู่ความเป็นเลิศทางด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา เพื่อสนับสนุนวิทยาลัยไปสู่สถาบันอุดมศึกษาชั้นนำด้านสุขภาพเพื่อชุมชน พันธกิจคือ เป็นศูนย์กลางในการออกแบบและพัฒนาระบบการเรียนการสอน และประโยชน์ของศูนย์ คือ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน (2) ด้านอาคารสถานที่ของศูนย์ฯ ควรพัฒนาขึ้นใหม่จากอาคารใดอาคารหนึ่งของวิทยาลัยที่มีอยู่เดิม ในรูปแบบศูนย์เทคโนโลยี ทางการศึกษาแบบสมบูรณ์ ซึ่งควรจัดสรรพื้นที่ไว้สำหรับห้องปฏิบติการคอมพิวเตอร์ (3) ด้านการจัดหน่วยงานของศูนย์ฯ ประกอบด้วย 3 งานคือ งานบริหาร ควรจัดให้มีงานนโยบายและแผนงานวิชาการ ควรจัดให้มีงานออกแบบระบบการเรียนการสอน และงานบริการควรจัดให้มีงานบริการด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (4) ด้านบุคลากรของศูนย์ฯ ควรจัดหาบุคลากรดังนี้ บุคลากรงานบริหาร คือหัวหน้าศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา บุคลากรงานวิชาการคือนักวิชาการคอมพิวเตอร์ บุคลากรงานบริการคือ หัวหน้างานบริการ โดยใช้วิธีการคัดเลือก/โอนย้ายอาจารย์ในอัตราใหม่ (5) ด้านงบประมาณของศูนย์ฯ มาจากงบประมาณแผ่นดิน (6) ด้านบทบาทหน้าที่ของศูนย์ฯ งานบริหารมีหน้าที่กำหนดนโยบายวางแผน งานวิชาการมีหน้าที่ผลิตสื่อการเรียนการสอน งานบริการมีหน้าที่ให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (7) ด้านสื่อการศึกษาของศูนย์ฯ ควรจัดหาและให้บริการคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ้คสำหรับอาจารย์ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะสำหรับนักศึกษา (8) ด้านการแก้ไขป้ญหาอุปสรรค อาจารย์ต้องการวิธีการ/เทคนิคการสอนใหม่ๆ ส่วนนักศึกษาต้องการเพิ่มความเร็วอินเตอร์เน็ต
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5593
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
130380.pdf21.22 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons