Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5593
Title: ความต้องการศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก
Other Titles: Needs for an Educational Technology Center of Sirindhorn College of Public health in Phitsanulok Province
Authors: ศันสนีย์ สังสรรค์อนันต์
จริล แก้วดวงเล็ก, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก
ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา
การศึกษาอิสระ--ศึกษาศาสตร์
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของผู้บริหาร อาจารย์และนักศึกษาเกี่ยวกับศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา สำหรับวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก ประชากรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 22 คน อาจารย์ จำนวน 47 คน และนักศึกษา จำนวน 540 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบ สอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยในด้านการจัดหน่วยงานของศูนย์ฯ อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาความต้องการรายด้าน ทั้ง 8 ด้าน พบว่า (1) ด้านการดำเนินงานของศูนย์ฯ ควรมีองค์ประกอบด้านนโยบายที่สนับสนุนให้มีจัดตั้งศูนย์ฯ มีการกำหนดปรัชญาคือ บริการดี มีมาตรฐาน ก้าวทันเทคโนโลยี ปณิธานคือ มุ่งศู่ความเป็นเลิศทางด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา เพื่อสนับสนุนวิทยาลัยไปสู่สถาบันอุดมศึกษาชั้นนำด้านสุขภาพเพื่อชุมชน พันธกิจคือ เป็นศูนย์กลางในการออกแบบและพัฒนาระบบการเรียนการสอน และประโยชน์ของศูนย์ คือ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน (2) ด้านอาคารสถานที่ของศูนย์ฯ ควรพัฒนาขึ้นใหม่จากอาคารใดอาคารหนึ่งของวิทยาลัยที่มีอยู่เดิม ในรูปแบบศูนย์เทคโนโลยี ทางการศึกษาแบบสมบูรณ์ ซึ่งควรจัดสรรพื้นที่ไว้สำหรับห้องปฏิบติการคอมพิวเตอร์ (3) ด้านการจัดหน่วยงานของศูนย์ฯ ประกอบด้วย 3 งานคือ งานบริหาร ควรจัดให้มีงานนโยบายและแผนงานวิชาการ ควรจัดให้มีงานออกแบบระบบการเรียนการสอน และงานบริการควรจัดให้มีงานบริการด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (4) ด้านบุคลากรของศูนย์ฯ ควรจัดหาบุคลากรดังนี้ บุคลากรงานบริหาร คือหัวหน้าศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา บุคลากรงานวิชาการคือนักวิชาการคอมพิวเตอร์ บุคลากรงานบริการคือ หัวหน้างานบริการ โดยใช้วิธีการคัดเลือก/โอนย้ายอาจารย์ในอัตราใหม่ (5) ด้านงบประมาณของศูนย์ฯ มาจากงบประมาณแผ่นดิน (6) ด้านบทบาทหน้าที่ของศูนย์ฯ งานบริหารมีหน้าที่กำหนดนโยบายวางแผน งานวิชาการมีหน้าที่ผลิตสื่อการเรียนการสอน งานบริการมีหน้าที่ให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (7) ด้านสื่อการศึกษาของศูนย์ฯ ควรจัดหาและให้บริการคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ้คสำหรับอาจารย์ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะสำหรับนักศึกษา (8) ด้านการแก้ไขป้ญหาอุปสรรค อาจารย์ต้องการวิธีการ/เทคนิคการสอนใหม่ๆ ส่วนนักศึกษาต้องการเพิ่มความเร็วอินเตอร์เน็ต
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5593
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
130380.pdf21.22 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons