Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/560
Title: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพรุ่นอายุวาย โรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
Other Titles: | Factors relating to job retention of Generation Y Professional Nurses at a Regional Hospital, Northeastern Region |
Authors: | อารี ชีวเกษมสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา. ศักดิ์กฤษณ์ ประสิทธ์ศุภการ, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --วิทยานิพนธ์ พยาบาล--อัตรากำลัง พยาบาล--ความพอใจในการทำงาน.--ไทย |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การคงอยู่ในงาน ของพยาบาลวิชาชีพรุ่นอายุวาย (2) ปัจจัยการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพรุ่นอายุวาย และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการคงอยู่ในงานกับการคงอยู่ในงาน ของพยาบาลวิชาชีพรุ่นอายุวาย กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา เป็นพยาบาลวิชาชีพรุ่นอายุวายที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล มหาราชนครราชสีมา และมีประสบการณ์ทำงานตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป จำนวน 261 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่าง อย่างมีระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ประเภท ได้แก่ 1) แบบสอบถามการคงอยู่ในงาน ของพยาบาลวิชาชีพมี 3 ตอน ได้แก่ (1) ข้อมูลส่วนบุคคล (2) การคงอยู่ในงาน และ (3) ปัจจัยการคงอยู่ในงานและ 2) แบบสัมภาษณ์ที่ใช้ในการสนทนา กลุ่มเครื่องมือวิจัยได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยงโดยเครื่องมือวิจัยประเภทแรกตอนที่ 2 และตอนที่ 3 ได้ค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.76 และ 0.97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพรุ่นอายุวาย โดยรวมอยู่ใน ระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.49) 2) ปัจจัยการคงอยูในงานของพยาบาลวิชาชีพรุ่นอายุวายโดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก และ 3) ปัจจัยการคงอยู่ในงานด้านคุณลักษณะของนายจ้าง สัมพันธภาพ ระหว่างผู้ปฏิบัติงาน รางวัล และการออกแบบงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับการคงอยู่ในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = 0.526, 0.502, 0.465 และ 0.458) ยกเว้น โอกาสความก้าวหน้าของอาชีพมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = 0.359) |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/560 |
Appears in Collections: | Nurse-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext 151553.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 20.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License