กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5607
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidelines for production development of Khao Dawk Mali 105 Rice in Bua Yai district, Nakhon Ratchasima Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สัจจา บรรจงศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรรธนัย อ้นสำราญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
วราภรณ์ บุญเครือ, 2534-
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ข้าว--ไทย--การผลิต.
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร ผู้ปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา 2) สภาพการผลิตและการจัดการส่วนประสมการตลาดของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา 3) ปัญหาในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา 4) แนวทางการพัฒนาการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร ส่วนมากเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 52.73 ปี จบการศึกษาในระดับประถมศึกษาปีที่ 4 มีสมาชิกในครัวเรือน 4 คน ส่วนใหญ่ไม่เป็นผู้นำในชุมชน และเป็นสมาชิกกลุ่มทางการเกษตร มีอาชีพอื่น คือรับจ้างทั่วไป มีพื้นที่ทำนาปีเฉลี่ย 14.19 ไร่ พื้นที่ปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 เฉลี่ย 12.38 ไร่ ส่วนใหญ่มีที่ดินเป็นของตนเอง เฉลี่ย 11.86 ไร่ แรงงานในครัวเรือน เฉลี่ย 2.23 คน และจ้างบางส่วน ปลูกข้าวปีละ 1 ครั้ง ใช้เงินทุนของตนเอง 2) สภาพการผลิตและส่วนประสมการตลาด พบว่า เกษตรกรเริ่มปลูกข้าวในช่วงเดือนมิถุนายน และเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนพฤศจิกายน พื้นที่นาส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่ม ดินเป็นดินร่วนปนทราย ทำนาอาศัยนํ้าฝน ปลูกข้าวโดยหว่านข้าวแห้ง ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว 15 – 20 กิโลกรัม/ไร่ ส่วนใหญ่ใช้แรงงานคน ใช้ปุ๋ยเคมี เก็บเกี่ยวข้าวโดยใช้รถเกี่ยวนวด หลังจากเก็บเกี่ยวส่วนใหญ่นำไปตากแดดเพื่อลดความชื้น ส่วนประสมการตลาด เกษตรกรส่วนใหญ่จำหน่ายข้าวที่ลดความชื้นแล้ว ขายในราคาตันละ 12,000 – 14,000 บาท ขายให้กับโรงสีข้าว 3) ปัญหาที่พบได้แก่ ด้านต้นทุนการผลิต ปัจจัยการผลิตที่มีราคาแพง ขาดแหล่งนํ้าสำรอง ผลผลิตมีราคาตํ่า และขาดความรู้ในด้านต่างๆ และ 4) แนวทางการพัฒนาโดยส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มในการจัดซื้อปัจจัยการผลิต สนับสนุนปัจจัยการผลิต จัดอบรมให้ความรู้เพิ่มเติม การผลิตสินค้าให้มีมาตรฐาน มีการแปรรูปเพิ่มมูลค่า และการทำการตลาดออนไลน์.
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5607
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.6 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons